สร้างสุขมุสลิมไทย

โครงการเครือข่ายลดการพึ่งพิงยาสูบ

นายไฟซอล สะเหล็ม ผู้รับผิดชอบโครงการฯ

เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำ

โครงการเครือข่ายลดการพึ่งพิงยาสูบ จัดเวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำภายใต้หัวข้อ “เลิกปลูก เลิกสูบ เลิกยาเส้น” เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ณ โรงแรมอัลฟาฮัจย์ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี รองประธานมูลนิธิฯ เป็นประธานเปิดงาน เวทีนี้ได้รับความสนใจจากแกนนำในชุมชนที่สามารถเลิกปลูกยาสูบได้สำเร็จกว่า 40 คนจากพื้นที่ภาคใต้ พร้อมทั้งแสดงเจตนารมณ์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนและครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มลูกหลานของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการในการป้องกันผู้ปลูกรายใหม่

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่การพัฒนา

วันที่ 29 มกราคม 2568 จัด "เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฤสู่การพัฒนา" ณ อาคารทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดยมี รศ.ดร.สมัคร แก้วสุขแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการพัฒนาและยกระดับการส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวไร่ยาสูบ สร้างพืชทดแทนการปลูกยาสูบ สร้างผลิตภัณฑ์จากพืชทดแทน และช่องทางการตลาดแก่ชาวไร่ยาสูบที่ร่วมโครงการฯ เป็นการร่วมกันผลักดันนโยบายในการส่งเสริมหรือช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบที่สามารถเลิกปลูกยาสูบได้จากทางภาครัฐ กิจกรรมในวันนี้มีหน่วยงานภาครัฐ 10 แห่งแกนนำ เครือข่ายเยาวชน และชาวไร่ยาสูบเข้าร่วมจำนวน 38 คน

ประชุมสรุปงานและวางแผนงานต่อไป

วันที่ 31 มกราคม 2568 นายไฟซอล สะเหล็ม และคณะทำงานโครงการเครือข่ายการพึ่งพิงยาสูบ มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย สสม. ประชุมสรุปงานเวทีแลกเปลี่ยนทีผ่านมา ร่วมกับ ผศ.ดร.รัทรดา เทพประดิษฐ์ คณบดี ทีมอาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ (อกช.) มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง การประชุมในวันนี้ได้ข้อสรุปในการส่งเสริมหรือช่วยเหลือชาวไร่ยาสูบที่เลิกปลูกยาสูบหันมาปลูกพืชทดแทน นั่นก็คือถั่วหรั่ง โดยมีแผนจะนำถั่วหรั่งมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์หรือยืดอายุในการเก็บรักษา เป็นต้น

จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้สู่ลูกหลานผู้ปลูกยาสูบ

โครงการเครือข่ายลดการพึ่งพิงยาสูบ จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้สู่ลูกหลานผู้ปลูกยาสูบในเรื่องพิษภัยของยาสูบทุกชนิด ตลอดจนผลกระทบจากการพึ่งพิงยาสูบ (บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ใบจาก ยาเส้น) เพื่อสกัดกั้นกลุ่มนักสูบหน้าใหม่ที่กำลังเพิ่มขึ้น 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 กิจกรรมจัดขึ้นที่ สถานีบางแค ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านแคเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 จัดกิจกรรม ณ โรงเรียนบ้านป่าแก่ ต.คลองเฉลิม จ.พัทลุง โดยนายศักดิ์สุริยา เสนาทิพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิม เป็นประธาน ทั้งนี้มีนักเรียนและคุณครู ตลอดจนแกนนำลดการพึงพิงยาสูบบ้านป่าแก เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คน

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568  นางศิราณี สังข์ทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอศรี เป็นประธานเปิดงาน ณ โรงเรียนบ้านโมย ต.นาหมอศรี อ.นาทวี จ.สงขลาโดยมี นักเรียนชั้น ป.4- ป.6 จากโรงเรียนบ้านโมย เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จำนวน 50 คน

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 นายสหรัฐ ทองเพิ่ม หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลนาหม่อมศรี ตัวแทนนายกเทศบาลนาหม่อมศรี เป็นประธานเปิดกิจกรรม ณ โรงเรียนวัดนาหมอศรี ต.นาหมอศรี อ.นาทวี จ.สงขลา โดยมีนักเรียนและคณะครู และแกนนำลดการพึงพิงยาสูบตำบลนาหมอศรี เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน

ร่วมสำรวจข้อมูลการปลูกถั่วหรั่ง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 นายไฟซอล สะเหล็ม ผู้รับผิดชอบโครงการฯพร้อมคณะทำงาน ร่วมกับ รศ.ดร.รัทรดา เทพประดิษฐ์ คณบดี พร้อมด้วย นางจรรยา ชูทับ หัวหน้าสำนักงาน และบุคลากรคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ลงพื้นที่ในพื้นที่อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง สำรวจข้อมูลพื้นฐานในการปลูกถั่วหรั่งของชาวไร่ในพื้นที่ เพื่อเตรียมแผนในการขับเคลื่อนการสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพ นำมาสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าถั่วหรั่งของชาวไร่ที่เลือกปลูกทดแทนการปลูกยาสูบ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับชุมชน อีกทั้งกำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน ในการพัฒนาและยกระดับการส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวไร่ที่เลิกปลูกยาสูบ ในพื้นที่อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุงต่อไป 904

โครงการพัฒนาผู้ประกอบการร้านอาหารมุสลิมเพื่อสุขภาวะ

นางสาวสุทธิดา วิชัยชาติ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ

รวมกิจกรรมวะกัฟ-สร้างสังคม

วันที่ 7-8 มกราคม 2568 มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) ได้ออกหน่วยประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ลดการบริโภคยาสูบ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และใบจากยาเส้น  มีการจัดแสดงนิทรรศการโครงการพัฒนาผู้ประการการอาหารมุสลิมเพื่อสุขภาวะ (MFS) และอันตรายจากการบริโภคยาสูบ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และใบจากยาเส้น ในงานวะกัฟ: สร้างสังคม ณ สนามข้างองค์การบริการส่วนตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

มอบป้ายรับรองมาตรฐาน

โครงการพัฒนาผู้ประการการอาหารมุสลิมเพื่อสุขภาวะ (MFS) จัดกิจกรรมพิธีมอบป้ายรับรองมาตรฐาน "Muslim Food Safety (MFS)" ให้แก่ร้านอาหารอิสลาม (หะลาล) ที่เข้าร่วมโครงการ ดังนี้

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 จัดกิจกรรมขึ้นที่จังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เป็นประธานฯ ทั้งนี้มีผู้ประกอบการอาหารมุสลิมที่ผ่านการประเมินเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้จำนวน 40 ร้าน กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างกระแสให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในร้านอาหารมุสลิมในจังหวัดสงขลาที่รับรองความปลอดภัย

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 จัดกิจกรรมขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ หอประชุมโรงเรียนจิตต์ภักดี ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ประกอบการอาหารมุสลิมที่ผ่านการประเมินเข้าร่วมกิจกรรม 28 ร้าน ทั้งนี้ฮัจญียงยุทธ ยาณะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ อิหม่ามสรกิจ หะซัน ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี อาจารย์วินัย แสวงศิริผล เภสัชกรอิศรา นานาวิชิต ที่ปรึกษาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ และนาวาอากาศโทสมคิด ลัทธิศักดิ์ ที่ปรึกษาโครงการร่วมมอบป้ายมาตรฐานฯ

จัดอบรมมาตรฐานอาหารมุสลิมปลอดภัย

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 โครงการพัฒนาผู้ประการการอาหารมุสลิมเพื่อสุขภาวะ (MFS) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมมาตรฐานอาหารมุสลิมปลอดภัย "Muslim Food Safety (MFS)" เพื่อพัฒนาและยกระดับร้านอาหารอิสลาม (หะลาล) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคชาวไทยและต่างประเทศ ณ โรงแรมเซน กรุงเทพ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ โดยมีผู้ประกอบการอาหารมุสลิมเข้าร่วม 36 ร้านค้า

โครงการเครือข่ายเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้าน

นางสาวกัลยาณา วาจิ รองผู้จัดการแผนงานฯ และผู้รับผิดชอบโครงการฯ 
นายลุกมาน กูนา ผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการฯ

เลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านผ่านสมาชิกในครอบครัว

โครงการเครือข่ายเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านจัดกระบวนการเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านผ่านสมาชิกในครอบครัว (ภรรยาและบุตร) โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อให้เกิดความตระหนัก เห็นถึงอันตรายและพิษภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า รวมไปถึงปัญหาของบุหรี่มือสองและบุหรี่มือสาม โดยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2568 จัดกิจกรรม ณ ชุมชนบาโงยือริ อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา 

ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม 2568 จัดกระบวนการเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านผ่านสมาชิกในครอบครัว (ภรรยาและบุตร) ณ ตาดีกาอิสตีกอมะห์มลายูบางกอก ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 จัดกระบวนการเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านผ่านสมาชิกในครอบครัว (ภรรยาและบุตร) ณ มัสยิดปะลง (บ้านโผลง) ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดย

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มแม่บ้าน นอกจากการให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่แล้ว ยังได้ตั้งคำถามให้กลุ่มแม่บ้านร่วมกันหาสาเหตุว่าทำไมลูกหลานเราจึงสูบบุหรี่ และเราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร?

เปิดข้อมูลเรื่องพิษภัยบุหรี่แก่ผู้ปกครอง

วันที่ 21 มกราคม 2568 จัดกิจกรรมให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ปกครอง ณ โรงเรียนบ้านเจาะบาแน ตำบล อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ ๆ และพิษภัยของบุหรี่ทั้งปัญหาบุหรี่มือสอง บุหรี่มือสาม และบุหรี่ไฟฟ้า เพี่อจะได้เตรียมพร้อมที่จะปกป้องลูกหลานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของบุหรี่ทุกชนิด โดยในวันนี้โรงเรียนบ้านเจาะบาแน โดย นางรุสนี จูกอ ผู้อำนวยการฯ ในภาพ (ขวา) ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ “สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข” พร้อม นางสาวกัลยาณา วาจิ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ (ซ้าย)

นางสาวกัลยาณา วาจิ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ (ซ้าย) นางรุสนี จูกอ ผู้อำนวยการฯ (ขวา)


พัฒนาศักยภาพแกนนำครูและตัวแทนนักเรียน

ส่วนกิจกรรมในวันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นการจัดกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำครูและตัวแทนนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนมัธยมให้เข้าใจถึงปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ ณ โรงแรมอัลฟาฮัจ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี รองประธานมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นครู 7 คน นักเรียน 24 คน รวม 31 คน จากในพื้นที่จังหวัดสงขลา จำนวน 6 โรงเรียน เข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการเลิกบุหรี่เริ่มที่บ้าน ของ สสม.

โครงการเครือข่ายกองทุนซะกาตระดับภูมิภาค

นางสาวอลินา หีมเหม ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
นายตอฮีตร์ สายสอิด ผช.ผู้รับผิดขอบโครงการฯ

มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) สานพลัง คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัด ขับเคลื่อนกองทุนซะกาตสู่ระดับจังหวัด

คณะทำงานเครือข่ายกองทุนซะกาต สสม. พร้อมด้วยลูกข่ายมัสยิดที่ร่วมโครงการฯ เข้าพบคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดที่ร่วมขับเคลื่อนกองทุนซะกาตให้รับทราบถึงความก้าวหน้าของโครงการฯ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 เข้าพบนายอะหมัด ก้อเด็ม ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตรัง ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตรัง

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี รองประธานมูลนิธิฯ พร้อมคณะทำงานโครงการฯเข้าพบนายอับดุลอาซิส เจ๊ะมามะ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ณ ห้องประชุมสหกรณ์อิสลามอิบนุอัฟฟาน สาขา นราธิวาส 

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เข้าพบนายนายยำอาด  ลิงาลาห์ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล

รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี รองประธานมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) “ที่ผ่านมาหลายพื้นที่อาจจะดำเนินการเรื่องซะกาตอยู่บ้างแต่อาจจะยังไม่เป็นระบบ ไม่มีระเบียบ หรือต่างคนต่างจ่าย ทำให้เกิดประสิทธิภาพของซะกาตไม่เด่นชัด โครงการฯนี้เข้ามารณรงค์ ส่งเสริมให้ความรู้ การจัดการบริหารกองทุนซะกาตอย่างเป็นระบบ และเกิดกองทุนซะกาตในพื้นที่ โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของแต่ละชุมชน และ สสม.ได้จัดทำคู่มือ “Zakat Kid” เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนแจกให้แต่ละมัสยิด”

ด้านนายอับดุลอาซีซ เจ๊ะมามะ รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า “การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดกองทุนซะกาตในพื้นที่ที่ สสม.ดำเนินการอยู่นั้น เป็นเรื่องที่ดีมากและทาง กอจ.นราธิวาส ยินดีให้ความร่วมมือและพร้อมขับเคลื่อนงานนี้ไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคมบ้านเรา”

มัสยิดลูกข่าย ร่วมเสนอแนวทางในการผลักดันและขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อให้แต่ละมัสยิดสามารถจัดตั้งกองทุนซะกาตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

ด้วยการสนับสนุนนโยบายของคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ที่ได้ประกาศให้แต่ละมัสยิดจัดตั้งกองทุนซะกาตขึ้น โดย สสม. ร่วมขับเคลื่อนและนำเสนอแนวทางการจัดตั้งกองทุนซะกาตให้เกิดขึ้นจริง 

ทั้งนี้ หากโครงการฯนี้สำเร็จ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนฯ มากที่สุดก็คือคนในชุมชน



สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 242
เดือนเมษายน 2568
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th

ความคิดเห็น