คนขี้แพ้ (ผงชูรส)


    แพ้ผงชูรส (MSG Allergy) เป็นอาการที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate: MSG) ผู้ที่แพ้ผงชูรสจะมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ผิวหนังแดง รวมทั้งอาจมีอาการแสบร้อนที่หน้าและคอ เป็นต้น
หากผู้ที่แพ้ผงชูรสรับประทานอาหารที่มีผงชูรส อาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ผิวหนังแดง เกิดลมพิษซึ่งมีลักษณะเป็นผื่นบวมนูนสีแดง
  • รู้สึกชา แสบร้อนบริเวณใบหน้า คอ รอบปาก และอาจรู้สึกแน่น ตึง หรือบวมที่ใบหน้า
  • มีเหงื่อออก
  • น้ำมูกไหล หรือคัดจมูก
  • ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
    ในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น รู้สึกเจ็บที่หน้าอก หายใจตื้นและถี่ คอบวม ใจสั่น เป็นต้น บางรายอาจเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันจนอาจเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยสงสัยว่าตนเองมีอาการแพ้หลังจากรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส ไม่ว่าอาการจะรุนแรงหรือไม่ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

    การป้องกัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส อ่านฉลากที่อยู่บนผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดก่อนเสมอว่ามีส่วนผสมของโมโนโซเดียมกลูตาเมตหรือไม่


    “แพ้อาหารทะเล” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยใด ไม่จำเป็นต้องแพ้ตั้งแต่เด็ก มีผู้ใหญ่หลายคนที่พึ่งรู้ตัวว่าแพ้อาหารทะเล ทั้งที่ก่อนหน้านั้นทานได้ตามปกติ การแพ้อาหารทะเลในผู้ใหญ่ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่อาการแพ้อาหารทะเลของเด็ก มักพบในเด็กผู้ชายมากกว่า
อาการของการแพ้อาหารทะเล
  • เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจลำบาก
  • มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน คล้ายจะเป็นลม หรือหมดสติ
  • ปวดคล้ายเข็มทิ่มในปาก
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • มีอาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดลงมาก
  • บางรายมีอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
    หมายเหตุ  การรักษาอาการแพ้อาหารทะเล ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงรักษาตาม
อาการ ด้วยการใช้ยาเมื่อเกิดอาการแพ้ขึ้น เมื่อเกิดแพ้อาหารขึ้น รักษาอย่างไร

การป้องกัน 
  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์น้ำมีเปลือก รวมถึงอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากอาหารทะเล 
  2. อ่านฉลากที่ผลิตภัณฑ์ก่อนทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของอาหารทะเล
  3. ควรพกยาแก้แพ้ติดตัวเสมอ ผู้ป่วยที่แพ้รุนแรง แพทย์จะให้พกยาเอพิเนฟรินติดตัวไว้ตลอดเวลา
  4. สำหรับเด็กเล็ก ควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบเพื่อป้องกันการรับประทานและสัมผัส
 
ข้อมูล
-https://www.pobpad.com
-https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/891033/
-https://www.gedgoodlife.com/health/11701-seafood-allergy/

จาก : 
วารสารสุขสาระ ฉบับที่ 196 เดือน กรกฎาคม 2563

ความคิดเห็น