คอลัมน์ : บุหรี่
ต่วนอิลฮัม เรียบเรียง
โดยปกติแล้วคนทั่วไปมักเข้าใจกันว่าการเลิกบุหรี่นั้นเป็นเรื่องที่ง่าย ในขณะที่บางคนก็คิดว่ายาก ซึ่งในความเป็นจริงการเลิกบุหรี่นั้นหากจะกล่าวว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้สูบว่ามีความตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่มากน้อยแค่ไหน บวกกับความพยายามในการใช้วิธีการต่างๆเพื่อใช้ใจตัวเองในการเอาชนะบุหรี่ให้ได้
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้การติดบุหรี่ (Tobacco Dependence) เป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งที่เป็นๆ หายๆ (remitting & relapsing) คล้ายกับโรคทางกายอื่น ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีโรคนี้ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเป็นระบบ พร้อมกับมีการประเมินผลและติดตามอาการเป็นระยะ ๆ เฉกเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ
![]() |
หงุดหงิดเมื่อมีอาการถอนนิโคติน |
ในส่วนของวิธีการในการรักษาโรคติดบุหรี่นั้นจะมีขั้นตอนและวิธีการแตกต่างกันไป เนื่องจากผู้ป่วยโรคติดบุหรี่แต่ละรายมีปัจจัยกระตุ้นหรือกลไกในการเสพติดที่แตกต่างกัน บางรายมีกลไกการเสพติดทางกายเป็นหลัก ในขณะที่หลายรายก็มีประเด็นทางจิตใจหรืออารมณ์เด่นกว่า บางรายก็มีเรื่องความเคยชินหรือพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นวิธีการในการรักษาก็จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
ในระยะแรกของการเลิกบุหรี่นั้นจะเกิดภาวะอาการอยากบุหรี่หรือที่เรียกว่าอาการถอนนิโคติน ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อผู้ที่กำลังเลิกบุหรี่โดยจะมีอาการต่างๆดังนี้
อาการถอนนิโคติน |
อุบัติการณ์
(ร้อยละ)
|
ระยะเวลาที่เกิดอาการ |
อยากสูบบุหรี่ |
70 |
นานกว่า 2 สัปดาห์ |
อยากอาหาร , กินเก่ง |
70 |
นานกว่า 10 สัปดาห์ |
ซึมเศร้า |
60 |
นานกว่า 4 สัปดาห์ |
กระวนกระวาย |
60 |
นานกว่า 4 สัปดาห์ |
ไม่มีสมาธิ |
60 |
นานกว่า 2 สัปดาห์ |
หงุดหงิด ก้าวร้าว |
50 |
นานกว่า 4 สัปดาห์ |
แผลในปาก |
40 |
นานกว่า 4 สัปดาห์ |
นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก |
25 |
นานกว่า 1 สัปดาห์ |
ท้องผูก |
17 |
นานกว่า 4 สัปดาห์ |
รู้สึกเบาในศีรษะ, เวียนศีรษะ |
10 |
น้อยกว่า 48 ชั่วโมง |
อาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการงดสูบบุหรี่ แต่จะค่อยๆทุเลาลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่เหลืออาการดังกล่าวเมื่อเวลาผ่านไป อาจจะดูเหมือนยากในการฟันฝ่าอุปสรรคอาการดังกล่าวนี้ แต่หากผู้ที่มีความตั้งใจจริงสามารถเอาชนะมันได้ คนที่จะมีความภาคภูมิใจมากที่สุดจะเป็นใครไม่ได้นอกจากตัวเอง สิ่งจำเป็นที่จะขาดไม่ได้คือกำลังใจจากตนเองในการเอาชนะบุหรี่ด้วยใจที่แน่วแน่ และคนรอบข้างที่พร้อมเอาใจช่วยโดยไม่ได้มองว่าผู้ติดบุหรี่เป็นปัญหาหรือภาระ ดังนั้นคนรอบข้างจึงต้องหมั่นให้กำลังใจแก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพื่อให้ผู้เลิกบุหรี่มีกำลังใจในการเลิกบุหรี่อย่างมั่นคงและถาวร
![]() |
นอนไม่หลับ จากอาการถอนนิโคตีน |
จากการสำรวจพบว่าราว 3 ใน 5 ของคนไทยที่เคยสูบบุหรี่มีความประสงค์จะเลิกบุหรี่อยู่แล้ว แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ปัญหานี้จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปแล้ว เพราะมี 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่แห่งชาติ โดยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข สสส. และ สปสช. บริการนี้จะมีผู้มีความรู้มาให้คำปรึกษา และแนวทางในการเลิกบุหรี่ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละคน อย่ารอช้า รีบเลิกบุหรี่ตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวท่านและคนรอบข้างที่ท่านรัก
ที่มา : คู่มือรักษาโรคติดบุหรี่เบื้องต้น เล่ม 1 , คลินิกฟ้าใส
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น