การแพร่ระบาดของยาสูบทุกชนิดเป็นหนึ่งในภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดที่โลกเคยเผชิญ โดยคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 8 ล้านคนต่อปี การเสียชีวิตมากกว่า 7 ล้านคน เป็นผลมาจากการใช้ยาสูบโดยตรงในขณะที่ประมาณ 1.2 ล้านคนเป็นผลมาจากผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ต้องสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง
ผู้ใช้ยาสูบกว่า 80% ของ 1.3 พันล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางซึ่งภาระการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับยาสูบนั้นหนักที่สุด การใช้ยาสูบก่อให้เกิดความยากจน โดยการเปลี่ยนการใช้จ่ายในครัวเรือนจากความต้องการขั้นพื้นฐานเช่นอาหารและที่พักพิงไปสู่ยาสูบ
ต้นทุนทางเศรษฐกิจรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากยาสูบ ตลอดจนทุนมนุษย์ที่สูญเสียไปเนื่องจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากยาสูบ จึงมีความสำคัญ
ยาสูบเติบโตอย่างรวดเร็วในอเมริกามาเกือบ 8,000 ปีแล้ว ประมาณ 2,000 ปีที่แล้วยาสูบเริ่มต้นด้วยการนำมาเคี้ยวและถูกนำมาใช้ในพิธีกรรม วัฒนธรรมหรือทางศาสนาโดยการรมควัน
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คือชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบการสูบบุหรี่ ในปี 1531 มีการปลูกยาสูบเป็นครั้งแรกในยุโรป (ที่ซานโตโดมิงโก) ในปี 1600 การใช้ยาสูบได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรปและอังกฤษและถูกใช้เป็นมาตรฐานทางการเงินซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดำเนินต่อไปตลอดศตวรรษต่อมา ในช่วงทศวรรษที่ 1700 การสูบบุหรี่ได้แพร่หลายมากขึ้นและอุตสาหกรรมยาสูบได้พัฒนาขึ้น
![]() |
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คือชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบการสูบบุหรี่ |
มีรายงานระบุว่าในปี 1602 ผู้เขียนชาวอังกฤษที่ไม่ระบุชื่อได้ตีพิมพ์เรียงความชื่อ Worker of Chimney Sweepers (sic) ซึ่งระบุว่าอาการเจ็บป่วยที่มักพบในพนักงานกวาดปล่องไฟเกิดจากเขม่า และยาสูบอาจมีผลคล้ายกัน นี่เป็นกรณีแรกที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่เชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ
ในปี 1795 Sammuel Thomas von Soemmering of Maine (เยอรมนี) รายงานว่าเขาเริ่มตระหนักถึงโรคมะเร็งที่ริมฝีปากในผู้สูบบุหรี่มากขึ้น
ในปีค. ศ. 1798 เบนจามิน รัช แพทย์ชาวสหรัฐฯได้เขียนบทความทางการแพทย์เกี่ยวกับอันตรายของยาสูบ
การสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (28 กรกฎาคม 1914 - 11 พฤศจิกายน 1918) ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนโยบายการให้บุหรี่ฟรีแก่กองกำลังพันธมิตรเพื่อเป็นการเลี่ยงสถานการณ์เฉพาะหน้า และส่งเสริมขวัญและกำลังใจของกองทหารโดยรวม
![]() |
สงครามโลกครั้งที่ 1 |
ในช่วงทศวรรษที่ 1920 รายงานทางการแพทย์ฉบับแรกที่เชื่อมโยงการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดเริ่มปรากฏขึ้น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายคนปฏิเสธที่จะรายงานการค้นพบนี้เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องการกดดันบริษัท ยาสูบที่เป็นแหล่งรายได้จากการโฆษณาอย่างหนักในสื่อในขณะนั้น
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (1939-1945) บริษัทยาสูบยังคงส่งเสริมวัฒนธรรมการสูบบุหรี่ในช่วงสงครามโดยการส่งบุหรี่ฟรีไปยังกองกำลังและสนับสนุนการรวมบุหรี่ไว้ในปันส่วนของทหาร โฆษณายังกระตุ้นให้ประชาชนสนับสนุนกองทัพด้วยการส่งบุหรี่ไปให้ทหาร
รายงานทางการแพทย์ที่สำคัญหลายชุดในทศวรรษ 1950 และ 1960 ยืนยันว่ายาสูบก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด
ความชุกของการสูบบุหรี่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก การพัฒนารูปแบบใหม่ของการส่งเสริมการขาย ความสามารถของอุตสาหกรรมยาสูบที่สร้างอำนาจและอิทธิพลต่อนโยบายของพรรคการเมือง
ในปี 1985 แม้ว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมีข้อสรุปว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อความพร้อมของกองกำลัง รายงานยังอ้างถึงค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับยาสูบโดยประมาณสูงถึง 209.9 ล้านดอลลาร์ และนายแคสปาร์ เวนเบอร์เกอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะออกมาตรการ “การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่อย่างเข้มข้น” ในปี 1986 ก็ตาม บริษัทยาสูบยังคงพยายามที่จะกลับเข้าไปในกองทัพเพื่อแจกบุหรี่ฟรีให้แก่ทหารในสงครามอ่าว (1990-1991) แต่ได้รับการปฏิเสธ จะด้วยอำนาจ และอิทธิพลทางการเมือง หรืออะไรก็ตาม บริษัทยาสูบกลับเปิดช่องทางขายใหม่ผ่านทางไปรษณีย์ และส่งเสริมการขายไปยังกองทัพโดยตรง น่าแปลกที่กองทัพช่วยบริษัทยาสูบในการจัดส่งสินค้าไปยังร้านค้าทางทหารในซาอุดิอาระเบีย โดยรัฐบาลเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้รายงานยังระบุว่าบริษัทยาสูบได้เข้าไปส่งเสริมกิจกรรมหลังจากการถอนทหารออกจากความขัดแย้งในปี 1991 โดยได้สนับสนุนกิจกรรม "Welcome Home" เพื่อส่งกองกำลังกลับบ้านซึ่งมีการโปรโมตแบรนด์อย่างกว้างขวาง เห็นได้ชัดว่าในที่สุดบริษัทยาสูบสามารถสร้างยอดขายด้วยกลยุทธต่าง ๆ นา ๆ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ
ต่อเมื่อผู้คนเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่สูบบุหรี่ ทั้งต่อตัวผู้สูบเอง และผู้ที่หายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปโดยไม่ได้สูบ ทำให้บุหรี่ได้รับความนิยมน้อยลง
การฟ้องร้อง บริษัทยาสูบที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่เกิดขึ้นในช่วงหลังของศตวรรษที่ 20
-https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tobacco
-https://www.cancercouncil.com.au/cancer-prevention/smoking/articles/a-brief-history-of-smoking/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Smoking_in_the_United_States_military
-https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22345227/
จากสุขสาระ ฉบับที่ 204 เดือนมีนาคม 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น