ตลาดบุหรี่ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

การสูบบุหรี่เป็นที่แพร่หลายในประเทศอินโดนีเซีย มีรายงานว่าผู้ใหญ่หนึ่งในสามมีการใช้ยาสูบเป็นประจำ 

ชาวอินโดนีเซีย (อายุ 15 ปีขึ้นไป) 33.8% ใช้ยาสูบซึ่งรวมถึงผู้ชายเกือบ 2 ใน 3 (ผู้ชาย 62.9% ผู้หญิง 4.8%) เยาวชน 19.2% (อายุ 13–15 ปี) ใช้ยาสูบ (ชาย 35.6% เด็กผู้หญิง 3.5%) เยาวชนสูบบุหรี่ 18.8% และ 1% ใช้ยาสูบไร้ควัน

บุหรี่กานพลูที่เรียกว่า kretek เป็นบุหรี่ที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซียคิดเป็นประมาณ 95% ของตลาดบุหรี่ 

รายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2017 ระบุว่าอินโดนีเซียยังคงเป็นหนึ่งประเทศที่บุหรี่ราคาถูกที่สุดในโลก โดยแบรนด์ที่ขายมากที่สุด 20 กล่องมีราคาเพียง 5.23 ดอลลาร์ เทียบกับ 11.82 ดอลลาร์ในมาเลเซีย และ 14.86 ดอลลาร์ในออสเตรเลีย 

ในขณะที่อินโดนีเซียพยายามลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงคนงานที่พึ่งพาอุตสาหกรรมยาสูบ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่เพิ่มการเรียกภาษีกับบุหรี่แบบมวนเอง 

รัฐบาลคาดว่าการผลิตบุหรี่จะลดลงมากถึง 3.2% เป็น 288.8 พันล้านแท่งในปี 2021 และมีความพยายามที่จะปราบปรามบุหรี่หนีภาษีต่อไป 

โฆษกคณะกรรมการพิเศษเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก (KPAI) และพัฒนากฎระเบียบเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กติดบุหรี่กล่าวว่า “อนาคตของเด็กชาวอินโดนีเซีย 80 ล้านคนตกอยู่ในอันตรายเนื่องจากผู้ผลิตบุหรี่มีเจตนามุ่งเป้าไปที่เด็กผ่านโฆษณาทางทีวีขนาดใหญ่และการสนับสนุนกิจกรรมที่วัยรุ่นมีส่วนร่วมมากที่สุด”

มีรายงานว่าเด็กชาวอินโดนีเซียมากกว่า 30% สูบบุหรี่ก่อนอายุ 10 ขวบ ในปี 2010 ข่าวเด็กชายวัย 2 ขวบจากเกาะสุมาตราชื่อ Ardi Rizal สูบบุหรี่วันละ 40 มวน ได้แพร่ไปทั่วโลก 

ในปี 2003 การโฆษณาและการส่งเสริมการขายบุหรี่ในอินโดนีเซียมีมูลค่าถึง 250 ล้านดอลลาร์ อินโดนีเซียจึงเป็นศูนย์กลางการผลิตยาสูบที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การสูบบุหรี่ Kretek ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "ส่วนหนึ่งที่ฝังแน่นของวัฒนธรรมอินโดนีเซีย" มีให้เห็นอย่างชัดเจน 

ในอินโดนีเซียยาสูบคร่าชีวิตผู้คนประมาณ 266,000 คนต่อปี ผู้เสียชีวิตประมาณ 45,000 คนเกิดจากการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง 

ยาสูบทำให้ผู้ชายเสียชีวิตเกือบหนึ่งในสี่ (24.3%) และ 6.3% ของการเสียชีวิตเป็นของผู้หญิงในวัยผู้ใหญ่ (16.2% ของการเสียชีวิตโดยรวม) 

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในอินโดนีเซียและประมาณ 21.9% ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศเป็นผลมาจากยาสูบ

อินโดนีเซียเป็นประเทศสมาชิก WHO เพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ได้ให้สัตยาบันในกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ กฎหมายสุขภาพแห่งชาติ ปี 2009 กำหนดให้ยาสูบเป็นสารเสพติด

ขณะที่ทั่วโลกห้ามการโฆษณาบุหรี่ แต่ที่อินโดนีเซียยังได้รับการอนุญาติ โดยมีข้อจำกัดบางประการ

ข้อมูล
https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-12-10/indonesia-raises-cigarette-levy-by-12-5-to-boost-state-revenue
https://en.wikipedia.org/wiki/Smoking_in_Indonesia
https://www.tobaccofreekids.org/problem/toll-global/asia/indonesia
https://www.wsj.com/articles/indonesia-tells-cigarette-makers-to-put-warnings-on-products-1403618269

จากสุขสาระ ฉบับที่ 205 เดือนเมษายน 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) 

ความคิดเห็น