อันตรายจากน้ำอัดลม

อันตรายจากน้ำอัดลม

น้ำอัดลมเครื่องดื่มยอดนิยมของคนไทย เครื่องดื่มยอดฮิต ไม่ว่าจะรู้สึกกระหาย อยากคลายร้อน ทั้งเด็ก หรือผู้ใหญ่ ก็มักจะนึกถึงน้ำอัดลม ที่นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นแล้ว ยังมีผลเสียต่อร่างกายอีกด้วย

น้ำอัดลมมีผลเสียกับร่างกายอย่างไรบ้าง 

น้ำอัดลมอยู่ในกลุ่มอาหารที่ไรคุณค่าทางอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรสใด หรือยี่ห้อใด ก็มีองค์ประกอบหลักเหมือนกัน คือ น้ำตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก คาเฟอีน สารแต่งสี และสารแต่กลิ่นหรือรส รวมไปถึงสารกันบูด 

อันตรายจากน้ำอัดลม

1. ปริมาณน้ำตาลที่เราควรรับประทานต่อวันคือ 24 กรัม แต่ในน้ำอัดลม1 กระป๋องมีน้ำตาลมากถึง 30 กรัม เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการดื่มน้ำอัดลมมากเกินไปอาจจะทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพเพราะ ได้รับปริมาณน้ำตาลเข้าไปในร่างกายมากเกินไปซึ่งอาจจะทำให้เป็นโรคอ้วน เบาหวาน  การบริโภคน้ำตาลที่สูงเกินไปทำให้มีโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่สูงขึ้น

2. กรดคาร์บอนิกในน้ำอัดลม เป็นกรดที่ทำให้น้ำอัดลมมีฟอง ซ่า กรดคาร์บอนิกนั้นสามารถย่อยมีฤทธิ์กัดกร่อยย่อยสลายหินปูนได้ ฉะนั้นกรดคาร์บอนิกจึงสามารถทำให้ฟันผุและกระดูกพรุนได้เช่นกัน

3. กรดฟอสฟอริกซึ่งเกิดจากฟอสฟอรัสจากกำมะถัน ในเลือดของคนเรานั้นมีสัดสัดที่ต้องการแคลเซียม 2 ต่อ ฟอสฟอรัส 1 และเมื่อเราดื่มน้ำอัดลมมากเกินไปจะทำให้เลือดของเรามีปริมาณฟอสฟอรัสมาก เกินไปทำให้เกิดการเสียสมดุลทำให้ร่างกายจะต้องไปดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ เมื่อกระดูกขาดแคลเซียมไปจึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน 

4. คาเฟอีนที่อยู่ในน้ำอัดลมนั้นทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นจึงทำให้ร่างกาย สูญเสียแคลเซียมจากการปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ฤทธิ์ของคาเฟอีนยังไปกระตุ้นระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น อีกด้วย

5. สารกันเสีย ในน้ำอัดลมมักนิยมใช้กรดซิตริก ซึ่งสามารถป้องกันการเจริญของแบคทีเรียและยีสต์ได้ดี แต่เป็นกรดค่อนข้างแรง สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร ส่วนสารแต่งกลิ่น รส สี เป็นสารเคมีสังเคราะห์ และเป็นสารก่อมะเร็ง

น้ำอัดลม มีน้ำตาล ไม่มีน้ำตาล อย่างไหนอันตรายกว่ากัน

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า หากเปรียบเทียบกันแล้วเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีแคลอรี่ต่ำหรือไม่มีแคลอรี่ย่อมดีกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมปกติที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หากรับประทานในปริมาณที่พอดี โดยไม่ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อที่จะรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงชนิดอื่น ๆ ได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพที่สุดก็ควรเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ไม่เพียงช่วยดับกระหาย แต่ยังให้สารอาหารที่จำเป็น และไม่มีสารเติมแต่งใด ๆ เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ร้อยเปอร์เซ็นต์ นมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำ เพราะแม้น้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาลอาจจะดีกว่าในด้านการควบคุมน้ำหนัก แต่ก็ยังไม่อาจระบุได้ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะปลอดภัยต่อร่างกายหรือส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานหรือไม่

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดื่มน้ำอัดลม การเลิกดื่มโดยสิ้นเชิงย่อมเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ตลอด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องถึงขั้นนั้น เพียงพยายามลดการดื่มน้ำอัดลมให้เหลือเพียงสัปดาห์ละ 1-2 กระป๋องก็ไม่น่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากนัก

ข้อมูล
https://new.camri.go.th/infographic/37
https://today.line.me/th/v2/article/zYKB15
https://www.pobpad.com

จากสุขสาระ ฉบับที่ 205 เดือนเมษายน 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) 

ความคิดเห็น