กองทัพสหรัฐฯกับอุตสาหกรรมยาสูบ ได้ช่วยสร้างและสนับสนุนกันและกัน ผลักดันให้อัตราการสูบบุหรี่ในเหล่าทหารสหรัฐฯสูงกว่าประชากรอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ
![]() |
ภาพจากวิกิพีเดียส์ |
เมื่อสหรัฐฯเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914-1918 การใช้บุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างมากในหมู่บุคลากรทางทหารของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากนโยบายการให้บุหรี่ฟรีแก่กองกำลังพันธมิตรเพื่อเป็นการเลี่ยงสถานการณ์เฉพาะหน้า และส่งเสริมขวัญและกำลังใจของกองทหารโดยรวม
อุตสาหกรรมยาสูบเริ่มกำหนดเป้าหมายไปยังเจ้าหน้าที่ทหารผ่านการแจกจ่ายบุหรี่ให้กับเหล่าทหารและในที่สุดก็รวมบุหรี่ไว้ในปันส่วน (“แพ็คเก็ตอาหาร” เป็นอาหารกระป๋อง เพื่อการบริโภคอย่างง่ายดาย ในสนามรบ มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบสำคัญ)
บุหรี่กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขและความสะดวกสบายในสนามรบ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (1939-1945) อุตสาหกรรมยาสูบยังคงส่งเสริมวัฒนธรรมการสูบบุหรี่ในช่วงสงครามโดยการส่งบุหรี่ฟรีไปยังกองกำลังและยังคงสนับสนุนการรวมบุหรี่ไว้ในปันส่วนของทหาร โฆษณายังกระตุ้นให้ประชาชนสนับสนุนกองทัพด้วยการส่งบุหรี่ไปให้ทหาร
ในปี 1985 แม้ว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมีข้อสรุปว่าการสูบบุหรี่มีผลเสียต่อความพร้อมของกองกำลัง รายงานยังอ้างถึงค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับยาสูบโดยประมาณสูงถึง 209.9 ล้านดอลลาร์
ปี 1986 คำสั่ง DoD 1010.10 ออกโดย นายแคสปาร์ เวนเบอร์เกอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกมาตรการ “การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่อย่างเข้มข้น” อุตสาหกรรมยาสูบยังคงพยายามที่จะกลับเข้าไปในกองทัพเพื่อแจกบุหรี่ฟรีให้แก่ทหารในสงครามอ่าว (1990-1991) แต่ได้รับการปฏิเสธ
จะด้วยอำนาจ และอิทธิพลทางการเมือง หรืออะไรก็ตาม อุตสาหกรรมยาสูบกลับเปิดช่องทางขายใหม่ผ่านทางไปรษณีย์ และส่งเสริมการขายไปยังกองทัพโดยตรง น่าแปลกที่กองทัพช่วยอุตสาหกรรมยาสูบในการจัดส่งสินค้าไปยังร้านค้าทางทหารในซาอุดิอาระเบีย โดยรัฐบาลเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้รายงานยังระบุว่าอุตสาหกรรมยาสูบได้เข้าไปส่งเสริมกิจกรรมหลังจากการถอนทหารออกจากความขัดแย้งในปี 1991 โดยได้สนับสนุนกิจกรรม "Welcome Home" เพื่อส่งกองกำลังกลับบ้าน ซึ่งมีการโปรโมตแบรนด์อย่างกว้างขวาง เห็นได้ชัดว่าในที่สุดอุตสาหกรรมยาสูบสามารถสร้างยอดขายด้วยกลยุทธต่าง ๆ นา ๆ ด้วยความร่วมมือของบุคลากรภาครัฐในขณะนั้น
แม้จะมีการออกคำสังและมาตรการการห้ามสูบบุหรี่อีกหลายฉบับ ในปี 1988 อัตราการสูบบุหรี่ลดลงเหลือเพียง 42% และยังสูงกว่าอัตราของพลเรือน
เมื่อกองทัพสร้างมาตรการณ์ต่อต้านบุหรี่เข้มแข็งขึ้น อุตสาหกรรมบุหรี่ก็มิได้นิ่งนอนใจ ในปี 1986 อุตสาหกรรมบุหรี่ ขอการสนับสนุนจากนักการเมืองที่เป็นมิตรกับอุตสาหกรรมยาสูบในทันที โดยอ้างว่านโยบายต้านการสูบบุหรี่ของกองทัพจะส่งผลเสียต่อการเกณฑ์ทหาร นอกจากนี้ยังได้ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Weinberger จากนักการเมืองที่สนับสนุน “บุหรี่” โดยได้เรียกร้องว่าเป็นการละเมิด "สิทธิส่วนบุคคล" และ "สิทธิของแต่ละบุคคลในการสูบบุหรี่"
อิทธิพลของอุตสาหกรรมยาสูบ ยิ่งใหญ่เกินคาด
ในปี 1993 USS Theodore Roosevelt (CVN-71) กลายเป็นเรือของกองทัพเรือที่ปลอดบุหรี่ลำแรกในปี 2005 พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่ทหารอยู่ที่ 32.2% เทียบกับอัตราพลเรือน 21% อัตราการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้น มีรายงานระบุว่า กองทัพสหรัฐในอิรักและอัฟกานิสถานสูบบุหรี่ในอัตราสองเท่าของชาวอเมริกัน การสูบบุหรี่ในระดับสูงเช่นนี้ทำให้กระทรวงกลาโหมต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการดูแลสุขภาพของกองทัพสหรัฐฯคาดว่าจะมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์ต่อปี
แม้จะมีความพยายามหลายครั้งในหน่วยงานของกองทัพ ในการริเริ่มนโยบายปลอดบุหรี่ แต่ไม่มีหน่วยงานใดในขณะนั้นที่ปลอดบุหรี่โดยสิ้นเชิง หนังสือพิมพ์ทหารเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์มีโฆษณาบุหรี่ กองทัพอากาศเป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่ห้ามโฆษณาบุหรี่ในสิ่งพิมพ์ทางทหาร
ในเดือนมีนาคม 2012 กองทัพอากาศได้สร้างฐานทัพทั่วโลกที่ปลอดบุหรี่โดยการสร้าง "กำหนดเขตสูบบุหรี่" ในเดือนมีนาคม 2015 กองทัพอากาศได้เผยแพร่คำแนะนำฉบับปรับปรุงเพื่อห้ามสูบบุหรี่ ในที่ตั้งและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ห้ามสูบบุหรี่ในยานพาหนะที่มีเด็กและส่งเสริมให้วิทยาเขตทางการแพทย์ปลอดบุหรี่
การรณรงค์ให้เลิกบุหรี่ที่จัดโดยกิจการทหารผ่านศึกสำหรับทหารผ่านศึกที่เพิ่งกลับมาส่งผลให้อัตราการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 38 หลังจากผ่านไปสองเดือน
ปัจจุบันพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในหมู่ทหารที่ยังรับราชการอยู่ลดลง และดูเหมือนว่าจะต่ำกว่าประชากรพลเรือนทั่วไปเป็นจำนวนมาก ตามการวิเคราะห์ของการสำรวจล่าสุดของกองทัพเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของทหาร
รายงานในเดือนกุมภาพันธุ์ 2019 พบว่าจำนวนทหารที่สูบบุหรี่เป็นครั้งคราว ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2011 ลดลงจาก 24 เปอร์เซ็นต์เป็น 13.9 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขของการบริโภคยาสูบแบบดั่งเดิมจะลดลง แต่ก็เป็นที่น่าวิตกที่กองกำลังสหรัฐฯรุ่นใหม่หันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่มากมาย
แม้ว่าอิทธิพลของอุตสาหกรรมยาสูบจะยิ่งใหญ่มากเพียงไร แต่การรณรงค์ต้านบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนใกล้ชิด ยังต้องเดินหน้าต่อไป
https://truthinitiative.org/research-resources/targeted-communities/tobacco-use-military
https://en.wikipedia.org/wiki/Smoking_in_the_United_States_military
https://www.militarytimes.com/pay-benefits/2019/02/03/among-troops-vaping-is-now-more-popular-than-cigarettes/
จากสุขสาระ ฉบับที่ 207 เดือนมิถุนายน 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น