จิ้งจก เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่อยู่ในสกุล Hemidactylus พบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแพร่พันธุ์ไปในหลายประเทศทั่วโลก
จิ้งจกเป็นแขกที่ไม่ได้รับเชิญเข้ามาอยู่ในบ้านเรา สร้างความรำคาญกับเสียงร้องรวมไปถึงอึจิ้งจกที่ถ่ายเรี่ยราดไว้ตามซอกหลืบ บ้างครั้งเราก็เผลอปิดหน้าต่างประตูหนีบจิ้งจกจนแบนติดขอบ ส่งกลิ่นคละคลุ้ง (ทำบาปกันไปไม่รู้ตัว)
เราจะไล่จิ้งจกดี หรือว่าจะจับจิ้งจกส่งออกตามหนุ่มนครพนมที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำดี...แต่เอาเป็นว่าวันนี้ มีวิธีไล่จิ้งจกมาฝาก แบบไม่ต้องทำบาปทำกรรม
1. ไล่จิ้งจกด้วยเปลือกมะนาว ให้ลองสังเกตดูว่าบริเวณไหนของบ้านที่จิ้งจกชอบมาอาศัยอยู่ ให้นำเปลือกมะนาวไปทาที่บริเวณนั้น กรดของมะนาวที่เปื้อนอยู่บนบริเวณที่ทา จะทำให้จิ้งจกไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ สุดท้ายจึงหนีไป
2. ใบน้อยหน่าและใบสาบเสือ ให้นำใบทั้งสองชนิดมาตำพอหยาบไม่ต้องละเอียดมาก จากนั้นนำไปบรรจุในถุงที่สามารถระบายอากาศได้ แล้วให้นำถุงนั้นไปแขวนไว้ตามบริเวณต่าง ๆ ที่จิ้งจกชอบอยู่ กลิ่นของใบสาบเสือและใบน้อยหน่า ซึ่งเป็นกลิ่นที่จิ้งจกไม่ชอบ จะทำให้อยู่ไม่ได้และหนีไปในที่สุด
![]() |
ใบน้อยหน่า |
![]() |
ใบสาบเสือ |
3. นำเปลือกไข่ไปวางไว้ในบริเวณที่จิ้งจกชอบอยู่ จะทำให้จิ้งจกรู้สึกว่ามีสิ่งมีชีวิตอื่นอาศัยอยู่บริเวณนั้น และจิ้งจกจะหนีไปในที่สุด แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือควรเปลี่ยนเปลือกไข่ทุก 3-4 สัปดาห์ เพราะยิ่งนานวันก็จะยิ่งส่งกลิ่นแรง ถึงตอนนี้ไม่แค่จิ้งจกที่หนี คนรอบตัวก็อาจหนีไปด้วย
4. ใช้ซอสพริกและน้ำเปล่าผสมกันในขวดสเปรย์ เขย่าให้เข้ากัน จากนั้นฉีดพ่นบริเวณที่พบจิ้งจกแล้วไม่นานนัก จิ้งจกจะไม่มากวนใจอีก เป็นวิธีการไล่ที่เห็นผล แต่อาจทำให้บ้านเปรอะเปื้อน ต้องคอยทำความสะอาดให้ดี
5. นำการบูรไปวางไว้ในที่ต่างๆ ที่จิ้งจกชอบอาศัยอยู่ อาจบรรจุไว้ในถุงแล้วนำไปแขวนตามผนังก็ได้ กลิ่นของการบูรซึ่งเป็นกลิ่นที่จิ้งจกไม่ชอบ จะทำให้จิ้งจกหนีไปในที่สุด
![]() |
การบูร |
6. กลิ่นฉุนของสารเคมีเป็นอะไรที่สัตว์หลาย ๆ ประเภทขยาดและต้องหนีไปไกลลิบ และสามารถไล่จิ้งจกให้พ้นบ้านได้ เพียงนำน้ำมันก๊าดทาบริเวณที่พบจิ้งจก ตุ๊กแกบ่อย ๆ หรือจะใช้วิธีปูพรมโดยการทาที่มุมห้องให้ครบทุกมุม เมื่อจิ้งจกหรือตุ๊กแกได้กลิ่นฉุนของน้ำมันก๊าดก็จะหนีออกจากบ้านเราอย่างรวดเร็ว ข้อควรระวัง กลิ่นฉุนของน้ำมันก๊าดอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กหรือผู้สูงอายุได้ และน้ำมันก๊าดสามารถติดไฟได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง
https://th.wikipedia.org
https://www.stopanimal.com/article/2/9
https://www.bolttech.co.th/blog/
จากสุขสาระ ฉบับที่ 208 เดือนกรกฎาคม 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น