โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่าง ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด  
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร 

อาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที

ใครเป็นโรคหลอดเลือดสมอง?

หลายคนคิดว่าโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้นในผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่เด็กก็สามารถมีเป็นได้เช่นกัน แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยในเด็ก แต่โรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กทุกวัย 

การหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองในเด็กอาจเป็นเรื่องยาก โรคหลอดเลือดสมองในผู้ใหญ่มักเกิดขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในเด็กมีความหลากหลายมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้

  • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
  • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย


ข้อมูล
https://kidshealth.org/en/parents/strokes.html
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/stroke
https://allwellhealthcare.com/stroke/

จากสุขสาระ ฉบับที่ 211 เดือนตุลาคม 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) 

ความคิดเห็น