บุหรี่ กว่าจะรู้ว่าทำร้ายสุขภาพ

เชื่อว่าการเพาะปลูกยาสูบน่าจะเริ่มขึ้นใน 5000 ปีก่อนคริสตกาล ยาสูบถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนาและเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ โดยถูกใช้เป็นยารักษา สำหรับปิดแผล ลดความเจ็บปวด และรักษาอาการปวดฟัน

ในปี 1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ขึ้นฝังที่ซานซัลวาดอร์ (San Salvador) ในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก เขาเห็นชาวพื้นเมืองนำใบข้าวโพดมามวนยาสูบ จุดไฟตอนปลายแล้วดูดควัน นับเป็นชาวยุโรปคนแรกที่พบเห็นการสูบบุหรี่ 

ในปี 1531 มีการปลูกยาสูบเป็นครั้งแรกในยุโรป (ที่ซานโตโดมิงโก) ในปี 1600 การใช้ยาสูบได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรปและอังกฤษ และถูกใช้เป็นมาตรฐานทางการเงิน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดำเนินไปตลอดศตวรรษต่อมา 

นักวิจัยด้านการแพทย์ชาวดัตช์ ไจลส์ เอเวอร์ราร์ด เชื่อว่าสรรพคุณของต้นยาสูบนิโคเทียนาจะทำให้เราต้องการแพทย์น้อยลง "ถือกันว่าควันเป็นยาแก้พิษและโรคติดต่อร้ายแรงได้" เอเวอร์ราร์ด เขียนในหนังสือ Panacea; or the Universal Medicine, being a Discovery of the Wonderful Virtues of Tobacco taken in a Pipe จากปี 1587 

ศตวรรษที่ 16 ต้นยาสูบนิโคเทียนา (Nicotiana) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "สมุนไพรศักดิ์สิทธิ์" และ "การรักษาเยียวยาของพระเจ้า" ความเชื่อว่าบุหรี่เป็นยารักษาโรคในยุคสมัยนั้นเป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจได้ แต่ด้วยกลยุทธทางการตลาดสมัยใหม่ที่ทำให้บุหรี่ได้รับความนิยมในเวลาต่อมา เป็นเรื่องที่น่าหดหู่ ซึ่งกว่าจะยอมรับว่าบุหรี่ทำลายสุขภาพ เราใช้เวลากันนานมาก

ในปี 1602 นักเขียนนิรนามชาวอังกฤษได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Worke of Chimney Sweepers (sic) ซึ่งระบุว่าอาการเจ็บป่วยที่มักพบในเครื่องกวาดปล่องไฟเกิดจากเขม่าและการสูบบุหรี่ อาจมีผลเช่นเดียวกัน นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกสุดของการสูบบุหรี่ที่เชื่อมโยงกับสุขภาพที่ไม่ดี

32 ปีต่อมา ในปี 1632 แมสซาชูเซตส์ได้ผ่านกฎหมายของรัฐที่ทำให้การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะผิดกฎหมาย ถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับบุหรี่

ในปี 1795 แซมมูเอล โธมัส ฟอน ซอมเมอริ่งแห่งรัฐเมน (เยอรมนี) รายงานว่าเขาเริ่มตระหนักถึงโรคมะเร็งริมฝีปากในผู้สูบไปป์มากขึ้น  

ในปี  1798 แพทย์ชาวอเมริกัน เบนจามิน รัช ได้เขียนเกี่ยวกับอันตรายทางการแพทย์ของยาสูบ

ในช่วงปี 1920 รายงานทางการแพทย์ฉบับแรกที่เชื่อมโยงการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดเริ่มปรากฏขึ้น เป็นที่น่าเสียดายที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายคนปฏิเสธที่จะรายงานผลการค้นพบนี้ เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องการสูญเสียรายได้จากบริษัทยาสูบที่โฆษณาอย่างหนักตามสื่อต่าง ๆ ในขณะนั้น

ในปี 1964 รายงานของนายแพทย์ศัลยแพทย์เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ได้รับการเผยแพร่ โดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่ร้ายแรงของบุหรี่ที่ก่อให้เกิดขึ้น รายงานนี้ยังสนับสนุนให้รัฐบาลเริ่มควบคุมการผลิตและการขายบุหรี่

การสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สาเหตุหลักมาจากนโยบายการให้บุหรี่ฟรีโดยบริษัทบุหรี่แก่กองกำลังพันธมิตรเพื่อเป็น "การสร้างขวัญและกำลังใจ"

พลเอกจอห์น โจเซฟ เพอร์ชิง นายทหารสหรัฐฯสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้สนับสนุนให้ “ยาสูบ” เป็นขวัญและกำลังใจของเหล่าทหาร

ปัจจุบันเราเข้าใจถึงภัยบุหรี่กันมากขึ้น เราใช้เวลานานหลายร้อยปีจึงเริ่มวิตกต่อประเด็นสุขภาพ หลายประเทศห้ามไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เริ่มมีการรณรงค์ให้คนตระหนักรู้ถึงโทษบุหรี่มากขึ้น บุหรี่ได้รับความนิยมน้อยลง 

บางประเทศบังคับให้ติดรูปคนไข้ระยะสุดท้ายจากพิษบุหรี่บนซองบุหรี่ ในอังกฤษมีการใช้ตุ๊กตาชื่อ Smokey Sue เพื่อสอนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ถึงโทษบุหรี่ต่อทารก

ในอังกฤษมีการใช้ตุ๊กตาชื่อ Smokey Sue เพื่อสอนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ถึงโทษบุหรี่ต่อทารก

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า มีคนสูบบุหรี่น้อยลง ในปี 2016 มีคนสูบบุหรี่คิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์จากคนทั้งโลก เทียบกับ 27 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2000

แต่นี่ก็ยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่นานาชาติตกลงกันไว้

ข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/Smoking_in_the_United_States_military
https://www.bbc.com/thai/international-48447669
https://www.swedish.org/classes-and-resources/smoking-cessation/history-of-tobacco-use-in-america
https://www.cancercouncil.com.au/news/a-brief-history-of-smoking/

จากสุขสาระ ฉบับที่ 212 เดือนพฤศจิกายน 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.) 

ความคิดเห็น