บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการพัฒนาในอเมริกา โดย เฮอร์เบิร์ต เอ. กิลเบิร์ต ในปี ค.ศ. 1963 ได้ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับ “บุหรี่ไร้ควันแบบไม่ใช้ยาสูบ” และได้รับสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 1965 สิ่งประดิษฐ์ของกิลเบิร์ต รายงานระบุว่าไม่มีนิโคติน แต่เป็นการสร้างไอระเหยปรุงแต่งรสชาติที่ตั้งใจให้มาทดแทนควันบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าตัวแรกเกิดขึ้นเร็วไปทั้งในแง่ของการยอมรับในสังคมและในแง่ของเทคโนโลยี และหลังจากที่กิลเบิร์ตได้รับสิทธิบัตร แนวคิดนี้ ก็จมหายไปในความมืดเป็นเวลาเกือบ 40 ปี
ปี 2001 บุหรี่ไฟฟ้าได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง โดย ฮอน ลิก ซึ่งเป็นเภสัชกรและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนจีน เขาจดสิทธิบัตรต้นแบบนี้ในปี ค.ศ. 2003 อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ชิ้นแรกเปิดตัวในปี 2004 ที่ประเทศจีน และเมื่อนับรวมจนถึงปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่รู้จักได้เพียง 17 ปี
บุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น ในสหรัฐฯ นักเรียนมัธยมปลายใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าบุหรี่ทั่วไป มีรายงานระบุว่า การใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในหมู่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสูงกว่าผู้ใหญ่
การตลาดบุหรี่ธรรมดาในอดีต สร้างภาพของความโก้เก๋ ดูทันสมัย ซึ่งไม่ต่างกับการตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบัน ที่มุ่งหวังให้สินค้ามีภาพลักษณ์ที่ติดตา ดูทันสมัย แต่..กว่าจะรู้จักพิษภัยของบุหรี่ธรรมดาต้องใช้เวลานานนับสิบปี
แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่งจะวางตลาดได้เพียงแค่ 17 ปี จะยังไม่สามารถรวบรวมรายงานถึงพิษภัยได้อย่างชัดเจน ก็ยังปรากฏตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เสพที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ จากสาเหตุของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
เดือนมกราคมในปี 2018 สถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และการแพทย์แห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาที่เป็นเอกฉันท์ซึ่งทบทวนการศึกษาต่างๆ กว่า 800 รายการ
รายงานระบุว่า การใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ สรุปได้ว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งสารที่อาจเป็นพิษและปล่อยออก รายงานของ Academies ยังระบุด้วยว่ามีหลักฐานในระดับปานกลางว่าเยาวชนที่ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีความเสี่ยงที่จะ ไอ และหายใจมีเสียงหวีดเพิ่มขึ้น รวมถึงการกำเริบของโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น
เว็บไซต์ ทูเดย์ดอทคอม รายงานเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2019 โดยระบุว่า จัสติน วิลสัน วัย 25 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า แบบ Vaping เป็นเวลาประมาณหนึ่งปีแล้วจู่ ๆ ก็ล้มลง หายใจไม่ออก เมื่อวันที่ 1 กันยายน เขาต้องใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในโรงพยาบาลในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน
15 กันยายน 2019 เว็บไซต์บีบีซีไทยรายงานว่าซีมา เฮอร์แมน วัย 18 ปี ออกมาเตือนสังคมให้ตระหนักถึงอันตรายจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า หลังจากเธอล้มป่วยด้วยภาวะปอดบวมและปอดล้มเหลว จากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันตั้งแต่อายุ 15 ปี
พฤศจิกายน 2019 เว็บไซต์วีโอเอไทยรายงานว่า หน่วยงานด้านสุขภาพภาครัฐของสหรัฐฯ ค้นพบสารในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่เชื่อว่าเป็นต้นเหตุ อาการป่วยปริศนาของผู้ที่สูบ e-cigarettes โดยระบุว่า “วิตามินอี อะซิเตท” หนึ่งในสารที่ใช้ในน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้าคือ “ตัวอันตราย” ที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยปริศนาของผู้ป่วยหลายรายในสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีชาวสหรัฐฯ จำนวน 2,000 รายที่ป่วยโดยมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และในจำนวนนี้เองมีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 40 ราย
กลยุทธที่บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ก็เท่ากับจะบอกว่า ..ฉันก็ยังอันตรายอยู่นั่นเอง!
https://www.voathai.com/a/e-cigarette-research-ks/5179734.html
https://www.lung.org/quit-smoking/e-cigarettes-vaping/impact-of-e-cigarettes-on-lung
https://www.today.com/health/what-are-symptoms-vaping-illness-doctors-warn-about-e-cigarettes-t162468
https://www.bbc.com/thai/features-49700520
https://medcraveonline.com/JLPRR/a-brief-history-of-the-electronic-cigarette.html
จากสุขสาระ ฉบับที่ 212 เดือนพฤศจิกายน 2564
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น