เรื่องเล่าจากคนที่เคยสูบบุหรี่ 2 | ผมเลิกบุหรี่เพราะวัณโรค

ผมอายุได้ 26 ปี ทำงานอยู่ในเมืองใหญ่ “กรุงเทพฯ”  ทำงานได้ไม่นานก็รู้สึกไม่สบาย เจ็บหน้าอก ผมไอมาก และไม่อยากอาหาร ผมไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกาย ในตอนแรกผมได้รับยาและกลับบ้าน แต่อาการไม่ดีขึ้น จนต้องกลับมาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง ในที่สุด เมื่อหมอตรวจผลเอกซเรย์ ผมจึงรู้ว่า “ผมเป็นวัณโรค

สาเหตุมาจากการสูบบุหรี่จัดของผมเอง ผมตกใจและกลัวมาก ผมเข้ารับการรักษา เริ่มกินยาอยุ่เกือบสองปี  ระหว่างการรักษา ผมรู้สึกว่ามันนานเหลือเกิน 

เมื่อเสร็จสิ้นการรักษาวัณโรคและหายดีแล้ว ผมดีใจที่ได้สุขภาพดีกลับมา และไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่อีกเลย

โชคดีของผมที่การติดวัณโรคทำให้ผมเลิกบุหรี่ได้ แต่เพื่อน ๆ อีกหลายคนยังสูบ และไม่รู้ว่าจะเป็นโรคร้ายอะไร จะรักษาได้ทันหรือไม่ ยังเป็นคำถาม

การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นวัณโรค (TB) เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นวัณโรคซ้ำ และทำให้การตอบสนองต่อการรักษาโรคลดลง แม้จะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงที่เป็นอันตรายระหว่างยาสูบกับวัณโรค แต่ยังมีนักสูบอีกจำนวนมากที่ยังคงสูบบุหรี่ 

นอกจากนี้ จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าควันบุหรี่มือสองเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรค โดยเฉพาะในเด็ก

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 วัณโรคเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต ซึ่งมีอันดับสูงกว่าเอชไอวี/เอดส์  การสูบบุหรี่และวัณโรคยังคงเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญสองประการทั่วโลก การศึกษาบางส่วนจากประเทศจีนและอินเดียรายงานว่าการสูบบุหรี่เพิ่มความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรค 

วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ โดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการไอหรือจาม จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี 2555 มีประชากรประมาณ 8.6 ล้านคนป่วยด้วยวัณโรค และ 1.3 ล้านคนเสียชีวิตจากวัณโรคหรือสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่าโรคติดเชื้ออื่น ๆ ยกเว้นเอชไอวี/เอดส์ สูตรการรักษาในปัจจุบันกำหนดให้ผู้ป่วยต้องทานยาหลายตัวเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนและนานถึงสองปีหรือมากกว่าสำหรับกรณีที่ดื้อยาบางกรณี

เลิกบุหรี่ คือคำตอบที่ดีที่สุด ไม่ได้หยุดแค่วัณโรค แต่โรคร้ายอื่น ๆ อีกด้วย อย่ารอให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์แล้วไปรักษา ถึงตอนนั้นอาจจะสายเกิดไป 

เรียบเรียง
เรื่องเล่าจากคนใกล้ตัว
https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12889-020-08856-6

สุขสาระออนไลน์ฉบับที่ 215 
เดือนพฤศจิกายน 2565
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th 

ความคิดเห็น