ก้นบุหรี่เป็นพลาสติกที่มีมลพิษมากที่สุด

เรื่องเหลือเชื่อที่จะกล่าวว่า ก้นบุหรี่เป็นรูปแบบขยะพลาสติกที่มีมากที่สุดในโลก คุณผู้อ่านหลายท่านอาจจะทักท้วงว่า ก้นบุหรี่ไม่ใช่พลาสติก มันทำมาจากฝ้ายหรือกระดาษต่างหาก และหลายท่านเชื่อว่ามันไม่เป็นอันตราย เพราะว่าก้นบุหรี่มีขนาดเล็กมาก และยังไม่มีใครทราบว่าวัตถุดิบที่ใช้คืออะไร

ปี ค.ศ. 1800 บุหรี่กระดาษเข้าสู่การบริโภคบุหรี่ยุคใหม่ การประดิษฐ์เครื่องม้วนบุหรี่ในตอนปลายศตวรรษ ส่งผลให้การสูบบุหรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากตามความนิยม 

ปลายทศวรรษ 1930 นักวิทยาศาสตร์เริ่มเชื่อมโยงระหว่างบุหรี่กับความเสี่ยงด้านสาธารณสุข ในปี 1957 ศัลยแพทย์ทั่วไปได้ประกาศอย่างเป็นทางการถึงความเชื่อมโยงระหว่างการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอด ภายในปี 1964 มีการเผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ซึ่งเน้นว่า "อัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 70%"

เมื่อความกังวลของสาธารณชนเพิ่มขึ้น บริษัทยาสูบต่างพยายามหาทางแก้ไข ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการค้นคิดตัวกรองบุหรี่ ที่คาดหวังว่าจะลดน้ำมันดินและนิโคตินลง

ปลายทศวรรษ 1950 ยอดขายบุหรี่ก้นกรองได้แซงหน้าบุหรี่ที่ไม่มีก้นกรอง

Tom Novotny นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานดิเอโก กล่าวว่าบริษัทบุหรี่ได้ทดลองใช้วัสดุกรองต่าง ๆ เช่น ผ้าฝ้าย ถ่าน และแป้งอาหาร ก่อนที่จะตกลงบนเส้นใยพลาสติกที่เรียกว่าเซลลูโลสอะซิเตท จนถึงในปัจจุบัน

เขากล่าวว่า “ผู้สูบบุหรี่จำนวนมากคิดว่ามันย่อยสลายได้” แต่ตัวกรองอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะย่อยสลาย และแม้ว่าจะย่อยสลายก็ตาม พวกมันจะแตกตัวเป็นพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่าไมโครพลาสติกซึ่งเป็นอันตรายต่อน้ำและมหาสมุทรเพิ่มขึ้น 

สารพิษจำนวนมากจากก้นบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็น สารท็อกซิน (Toxin) นิโคติน (Nicotine ) สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็งอีกกว่า 60 ชนิดและเอทิลฟีนอล (Ethyl phenol) จะถูกชะล้างเข้าสู่สิ่งแวดล้อมทุกปี ซึ่งก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อตัวเราและสิ่งแวดล้อมของเรา ไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักวิจัยภาคสนามจะพบก้นบุหรี่ภายในลำไส้ของนกทะเล หรือใน เต่าทะเล ปลา และโลมาที่ตายแล้ว  

ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกจากบุหรี่เพิ่มขึ้น จาก “บุหรี่ไฟฟ้า” 

บุหรี่ไฟฟ้าโดยทั่วไปประกอบด้วยสี่องค์ประกอบ : ตลับหรือฝักที่บรรจุสารละลาย องค์ประกอบความร้อน แบตเตอรี่ และหลอดเป่า แม้ว่าตอนนี้สามารถเปลี่ยนฝักได้ แต่ในตอนแรกอุปกรณ์ควบคุมทั้งหมดเป็นแบบใช้ครั้งเดียว พลาสติกและวงจรทั้งหมดตรงไปที่ถังขยะ..หรือตามท้องถนน?

การใช้บุหรี่ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้น ในสหรัฐฯผู้ผลิตชั้นนำอย่าง Juul ยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบเจ็ดเท่าระหว่างปี 2014 ถึง 2017 รายงานในปี 2019 ระบุว่าชาวอเมริกันมากกว่า 10 ล้านคนใช้บุหรี่ไฟฟ้า แน่นอนขยะพลาสติกจากบุหรี่ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน 

ของเสียจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพต่างจากก้นบุหรี่ ตลับบรรจุสารละลายที่ถูกทิ้งบนถนนผสมกับเศษใบไม้จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ ในที่สุดก็แตกตัวเป็นไมโครพลาสติกและสารเคมีที่ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ เพื่อสร้างมลพิษทางน้ำและสัตว์ป่า

ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกจากก้นบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า ใครควรรับผิดชอบ?


ข้อมูล
https://www.earthday.org/tiny-but-deadly-cigarette-butts-are-the-most-commonly-polluted-plastic/
https://www.nationalgeographic.com/environment/article/cigarettes-story-of-plastic
http://reo13.mnre.go.th/th/news/detail/51096
https://truthinitiative.org/research-resources/harmful-effects-tobacco/tobacco-and-environment

สุขสาระออนไลน์ฉบับที่ 216
เดือนธันวาคม 2565
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th   

ความคิดเห็น