ไอ จาม ถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ โดยร่างกายจะขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและเร็ว
พฤติกรรมการ ไอ จาม ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกแตกได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาขึ้นได้
โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ การไอหรือจามแรง ๆ การทำงานที่ต้องยกของหนัก น้ำหนักตัวมาก การสูบบุหรี่ การใช้งานที่ไม่เหมาะสม การนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน การบิดตัวหรือก้มหลังอย่างรวดเร็วและรุนแรง เป็นต้น
หมอนรองกระดูก โดยปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย และเป็นตัวให้ความยืดหยุ่น ในขณะที่มีการก้มเงย บิดตัว ของตัวกระดูกสันหลัง
หมอนรองกระดูกปลิ้น เกิดจากการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกชั้นนอก (Annulus fibrosus) ทำให้ส่วนที่อยู่ชั้นในที่มีลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus Pulposus) ที่อยู่ตรงกลางเคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท (Nerve root) ส่งผลให้เกิดอาการปวด ชาร้าวลงขาได้ มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 20-50 ปี
การไอหรือจามแรง ๆ แต่ละครั้ง จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่รายรอบลำตัวเรา ทำให้หมอนรองกระดูกที่มีหน้าที่รับแรงกระแทกทำงานหนักขึ้น และเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ในคนที่มีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรง โดยเฉพาะในรายที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว ความดันที่เพิ่มขึ้นจะไปดันให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกจากรอยแยกของเปลือกหุ้มหมอนกระดูกไปกระทบกับเส้นประสาทได้ กรณีจามเบา ๆ อาจมีอัตราความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้าหากจามแรงๆ อัตราความเร็วอาจสูงถึง 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ดังนั้นเมื่อไอ หรือจามแรง ๆ ในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่รายรอบลำตัวเรา ทำให้หมอนรองกระดูกซึ่งมีหน้าที่รับแรงกระแทก ทำงานหนักขึ้นและเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระดูกสันหลัง เมื่อเวลาไอหรือจาม ควรฝึกเกร็งหน้าท้อง เพื่อให้หน้าท้องรับภาระน้ำหนักแทนกระดูกสันหลัง จะทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักน้อยลง และไม่เกิดภาวะหมอนรองกระดูกแตก หรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้
ข้อควรปฏิบัติหากไอ–จามแล้วปวดหลัง
- ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด
- หากมีอาการปวดเมื่อย แพทย์จะแนะนำให้กายภาพบำบัด และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- หากกินยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด ไม่หายการฉีดยาเพื่อระงับความปวดเข้าที่โพรงประสาท เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ลดอาการปวดหลังได้
- อาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์และมีอาการปวดร้าวลงขา แพทย์จะวินิจฉัยจากผลตรวจ x-ray และ MRI หากพบว่าเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัด โดยปัจจุบันวิธีการรักษาด้วยการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression)
ข้อมูล
https://www.matichon.co.th/lifestyle/health-beauty/news_3742323
https://www.nakornthon.com/article/detail/ไอจามแรงๆอาจทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้น
https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/จามแบบไหนเป็นโรคอะไร/
https://www.s-spinehospital.com/main/schnupfen/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น