ซีเซียม 137

ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้า และแกมม่า ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็ง

ประโยชน์ มีการนำซีเซียม 137 มาใช้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง และใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ถ้ามีปริมาณน้อยจะใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสีหรือใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่นำมาใช้ในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน 

อันตราย ในระยะสั้นหากได้รับหรือสัมผัสจะไม่ส่งผลอันตรายให้เห็นผลชัดเจน แต่จะก่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ถ้าได้รับเข้าไปในร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล ผ่านการหายใจ และรับประทานเข้าไป ซีเซียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนของอวัยวะต่าง ๆ และจะแผ่รังสีให้อวัยวะเหล่านั้นส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในเวลาต่อมา 

อาการที่พบเมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137

เมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 อาการที่พบคือ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง

ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้

การควบคุมดูแลซีเซียม 137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของไอโซโทปรังสีและเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ ดังตัวอย่างต่อไป

ย้อนไปเมื่อวันที่ 10-13 ก.ย. 2530 คนเก็บขยะ 2 คนได้ลอบเข้าไปในคลินิกรักษาโรคมะเร็งแห่งหนึ่งในเมืองโกยาเนีย ห่างจากกรุงบราซิเลียของบราซิล ราว 200 กิโลเมตร

คลินิกแห่งนี้ได้ย้ายออกจากเมืองโกยาเนีย ในปี 2528 แต่ไม่ได้ดำเนินการกับเครื่องมือแพทย์หลายชิ้น รวมถึงเครื่องบำบัดด้วยรังสี อย่างถูกต้อง ทำให้หลายชิ้นยังคงอยู่ภายในคลินิกที่รกร้าง

คนเก็บขยะเข้าไปในคลินิกร้างแห่งนี้ พวกเขาพบอุปกรณ์รักษาด้วยรังสี สำหรับบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง พวกเขาขโมยอุปกรณ์บำบัดด้วยรังสี ไปขายที่ร้านขายของเก่า โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าแท้จริงนั้นคืออะไร ต่อเมื่อกลับไปบ้าน พวกเขาเริ่มป่วยอย่างไม่ทราบสาเหตุ นั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดในโลก ที่เกิดขึ้นนอกโรงงานนิวเคลียร์

สรุปแล้ว มีผู้เสียชีวิตจากเหตุกัมมันตรังสี 4 คน มีผู้ป่วยได้รับกัมมันตรังสีต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 249 คน และผู้คนกว่า 100,000 คน ต้องเฝ้าระวัง โดยผู้คนในเวลานั้น รวมถึงสื่อ รายงานว่า นี่อาจเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุด นับแต่เหตุการณ์เชอร์โนบิลในยูเครนก็เป็นได้

ในปี 2532 พบแคปซูลขนาดเล็ก 8 x 4 มม. ของซีเซียม 137 ภายในผนังคอนกรีตของอาคารอพาร์ตเมนต์ในเมือง Kramatorsk , SSR ของยูเครน เมื่อถึงเวลาที่แคปซูลถูกค้นพบ ผู้พักอาศัยในอาคาร 6 คนเสียชีวิต 4 คนจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวและอีก 17 คนได้รับปริมาณรังสีที่แตกต่างกัน 

ในปี 2552 บริษัทซีเมนต์ของจีน (ในตงฉวนมณฑลส่านซี ) ขณะกำลังรื้อถอนโรงงานซีเมนต์ เก่าที่ไม่ได้ใช้งาน แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการวัสดุกัมมันตภาพรังสี ทำให้ซีเซียม 137 บางส่วนจากเครื่องมือวัดถูกรวมเข้ากับเศษโลหะ จำนวน 8 คันรถบรรทุก ที่กำลังเดินทางไปยังโรงถลุงเหล็กซึ่งสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียมถูกหลอมละลายลงในเนื้อเหล็ก 

ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2558 มหาวิทยาลัย Tromsø ของ นอร์เวย์ได้สูญเสียตัวอย่าง กัมมันตภาพรังสี 8 ตัวอย่าง รวมทั้งตัวอย่างซีเซียม 137 อะเมริเซียม 241และสตรอนเทียม 90 กลุ่มตัวอย่างถูกย้ายออกจากสถานที่ที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในการศึกษา เมื่อตัวอย่างถูกส่งกลับยังมหาวิทยาลัยก็หาไม่พบ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 ตัวอย่างยังคงหายไป 

เมื่อวันที่ 3 และ 4 มีนาคม พ.ศ.2559 ตรวจพบระดับซีเซียม 137 สูงผิดปกติในอากาศที่เมืองเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ จากข้อมูลของ STUK ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมนิวเคลียร์ของประเทศ การวัดพบว่า 4,000 μBq/m3 –ประมาณ 1,000 เท่าของระดับปกติ การสืบสวนโดยหน่วยงานได้ติดตามแหล่งที่มาไปยังอาคารที่ STUK และบริษัทบำบัดกากกัมมันตรังสีดำเนินการอยู่ 

ผู้ประสบภัย 13 คนได้รับสารซีเซียม 137 ในเดือนพฤษภาคม 2562 ที่อาคารวิจัยและฝึกอบรมในศูนย์การแพทย์ฮาร์เบอร์วิว ทีมงานรับจ้างกำลังขนย้ายซีเซียมจากห้องปฏิบัติการไปยังรถบรรทุกเมื่อผงแป้งหก ผู้ประสับภัย 5 คนได้รับการฆ่าเชื้อและปล่อยตัว แต่อีก 8 คนที่ได้รับสัมผัสโดยตรงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในขณะที่อาคารวิจัยถูกอพยพ 

มกราคม พ.ศ.2566 รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย หน่วยงานสาธารณสุขในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียออกประกาศภาวฉุกเฉินบริเวณถนนยาวประมาณ 1,400 กม. หลังจากแคปซูลขนาด 8 มม.ที่มีซีเซียม 137 สูญหายระหว่างการขนส่งเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 รัฐบาลแห่งรัฐเริ่มดำเนินการค้นหาทันที โดย นายแอนดรูว์ โรเบิร์ตสัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ WA Department of Health เตือนว่าผู้ที่สัมผัสสารอาจคาดหวังว่าจะได้รับรังสีเอกซ์ ประมาณ 10 ครั้ง ต่อชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญเตือน หากพบแคปซูล ประชาชนควรอยู่ห่างอย่างน้อย 5 เมตร พบแคปซูลเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 

มีนาคม 2566 ปราจีนบุรี ประเทศไทย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี พยายามกู้แคปซูลซีเซียม 137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำในจังหวัดปราจีนบุรี สูญหายไปตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 แต่ยังไม่ได้รับแจ้งต่อสาธารณชนไทยจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี แถลงข่าวว่า พบฝุ่นเตาปนเปื้อนซีเซียม 137 ที่โรงงานหลอมเหล็กในอำเภอกบินทร์บุรี 

ข้อมูล
https://www.nst.or.th/article/article54/article54-004.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Caesium-137
https://www.hfocus.org/content/2023/03/27282
https://www.bbc.com/thai/articles/c0k0z75yxp2o


สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 220
เดือนเมษายน 2566
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th 

ความคิดเห็น