มะเดื่อฝรั่ง เป็นพืชพื้นเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตกและแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปรวมถึงในแอฟริกาเหนือ โดยจัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับขนุน และจัดอยู่ในสกุลเดียวกับมะเดื่อไทย ต้นโพธิ์ และต้นไทร ต่อมามีการแพร่กระจายในประเทศเขตร้อนในทุกทวีป แต่พบมากในยุโรปและเอเชีย เช่น ตุรกี, กรีช, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น รวมถึงในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ได้มีการนำมะเดื่อฝรั่งมาทดลองปลูกครั้งแรกที่ดอยอ่างขางเมื่อ พ.ศ.2524 โดยมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นต่อมาจึงได้ขยายพื้นที่การปลูกไปในภาคอื่น ๆ จนในปัจจุบันสามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยสามารถปลูกในสภาพพื้นที่ราบและมีอากาศร้อนก็ได้
มะเดื่อฝรั่ง หรือลูกฟิก (Fig) เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เนื่องจากมีรสชาติดีและอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เชื่อกันว่าการรับประทานมะเดื่อฝรั่งอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน บรรเทาอาการท้องผูก หูด และอาจมีประโยชน์ต่อผิวหนังด้วย
มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีแคลอรี่ต่ำและปราศจากไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก และผู้ที่อยากรับประทานอาหารอื่นแทนขนมขบเคี้ยวแต่ยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย โดยมะเดื่อฝรั่งแบบตากแห้ง 100 กรัม ประกอบด้วยกากใยอาหาร 9.8 กรัม ซึ่งกากใยอาหารนี้จะช่วยให้อิ่มท้องนานขึ้นและดีต่อสุขภาพหลายอย่าง ทั้งยังกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ มะเดื่อฝรั่งยังอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด อาทิ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเค โพแทสเซียม สังกะสี เหล็ก และอื่น ๆ อีกมากมาย
มีการศึกษาวิจัยพบว่า ในผลมะเดื่อฝรั่งประกอบไปด้วยสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ เช่น สารโพลิฟินอล (Polyphenols) ฟลาโวนอยล์
ฤทธิ์รักษาหูดจากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาหูดโดยการจี้ด้วยความเย็นกับการใช้ยางของมะเดื่อฝรั่งทาบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าการรักษาหูดด้วยยางของมะเดื่อฝรั่งส่งผลดีในหลายด้าน ทั้งช่วยลดระยะเวลาในการรักษา ใช้งานง่าย ไม่พบผลข้างเคียง และมีอัตราการเกิดหูดซ้ำต่ำ
![]() |
มะเดื่อฝรั่งถูกใช้ในการรักษา "หูด" |
ฤทธิ์ต่อผิวหนัง มีการศึกษาหนึ่งชี้ว่า ครีมที่มีส่วนผสมของมะเดื่อฝรั่งส่งผลต่อผิวหนังหลายด้าน เช่น ลดเม็ดสีและรอยแดง เพิ่มความชุ่มชื้น ปรับสมดุลไขมันใต้ผิวหนัง และมีประสิทธิภาพช่วยต่อต้านริ้วรอย กระ สิว และจุดด่างดำได้
ฤทธิ์อื่น ๆ มีรายงานว่าในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้นำเอนไซม์ฟิซินในรูปของยางมะเดื่อฝรั่งไปใช้เป็นยาขับหนอนพยาธิแทนการใช้ตัวยาสังเคราะห์ทางด้านเภสัชกรรมพบว่า เอนไซม์ฟิซินช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดได้
การรับประทานมะเดื่อฝรั่งทั้งผลสดหรือแบบตากแห้งในปริมาณที่พอเหมาะค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ และการรับประทานใบมะเดื่อฝรั่งเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคอาจปลอดภัยหากใช้ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน
การบริโภคมะเดื่อฝรั่งมีข้อควรระวัง ดังนี้
- การบริโภคมะเดื่อฝรั่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้และมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ ดังนั้น ควรรับประทานแต่ในปริมาณที่พอเหมาะ
- การบริโภคยางมะเดื่อฝรั่งในปริมาณมากอาจทำให้มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
- มะเดื่อฝรั่งอาจช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสียได้
- ผู้ที่แพ้ผลไม้ในวงศ์ขนุน (Moraceae) เช่น ขนุน หรือน้อยหน่า อาจแพ้มะเดื่อฝรั่งด้วยเช่นกัน
- การสัมผัสกับผลหรือใบมะเดื่อฝรั่งอาจทำให้ผิวเกิดอาการแพ้และมีผื่นคันได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย
- มะเดื่อฝรั่งมีวิตามินเคสูง ซึ่งเป็นวิตามินที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ดังนั้น ผู้ที่รับประทานมะเดื่อฝรั่งควรวางแผนปริมาณการบริโภควิตามินเคที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังใช้ยารักษาที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน
- การรับประทานมะเดื่อฝรั่งทั้งผลสดหรือแบบตากแห้งในปริมาณที่พอเหมาะค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์และกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร แต่ยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยมากเพียงพอ หากรับประทานเป็นยารักษาโรคในปริมาณมาก
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเฝ้าระวังและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ เนื่องจากการรับประทานมะเดื่อฝรั่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้
- ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมะเดื่อฝรั่งก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะมะเดื่อฝรั่งอาจทำให้ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น