อาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เกิดจากรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือปรุงไม่สุก ซึ่งอาจพบมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนโดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียถ่ายเหลวตามมา 

สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการ 1-2 ข้อ ให้สงสัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง

  1. อาเจียนรุนแรง หรือถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน)
  2. มีไข้
  3. ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น
  4. ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
  5. หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องให้แบบไม่มีน้ำตา

อาหารเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ

  1. อาหารสด สุก ๆ ดิบ ๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ
  2. อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัด
  3. อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง ที่พบว่ามีรอยบุบ รอยรั่ว หรือขึ้นสนิม
  4. อาหารที่ผลิตหรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกัน
  5. อาหารที่มีแมลงวันตอม
  6. อาหารที่ปรุงสุกตั้งแต่เช้า โดยไม่มีการอุ่นร้อน
  7. อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมแล้วปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง
  8. น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

การรักษา

โดยปกติถ้าอาการของผู้ป่วยไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยรักษาตามอาการ (symptomatic treatment) เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน ทานยาแก้คลื่นไส้ อาเจียนหรือยาแก้ปวดท้อง เป็นต้น งดรับประทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารหมักดอง พักผ่อนให้มากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ งดการทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้ไปพบแพทย์


ข้อมูล
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/อันตรายร้ายแรงของอาหาร/
https://www.tropmedhospital.com/knowledge/food_poisoning.html

สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 221
เดือนพฤษภาคม 2566
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th 

ความคิดเห็น