บุหรี่ไฟฟ้ากับกลยุทธมุ่งไปที่เด็ก

WHO กำลังวิตกว่าธุรกิจยาสูบรายใหญ่ที่กำลังจะมุ่งเป้าไปยังเยาวชน? เมื่อปีที่แล้วดวิซิโอ (Dvicio) วงบอยแบนด์สัญชาติสเปนที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังในหมู่วัยรุ่นชาวสเปน และวงนี้ก็ยังคงออกทัวร์คอนเสิร์ตที่สเปนอย่างต่อเนื่องแม้จะเกิดโรคระบาด โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทบริติช อเมริกัน โทแบคโค (British American Tobacco: BAT) หนึ่งในบริษัทบุหรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

ผู้ชมคอนเสิร์ตแถวหน้านั้นเต็มไปด้วยผู้ที่มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล เพื่อโปรโมตโกล (Glo) ซึ่งเป็นบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่ของ BAT ส่วนแถวข้างหลังพวกเขาคือคนที่ถูกรางวัลบนบัญชีอินสตราแกรม ของ Glo สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสก็ยังมีโอกาสอีกครั้งที่จะได้พบกับ Dvicio ในเทศกาลสตาร์ไลท์ ที่เมืองมาร์เบลลา ซึ่งสนับสนุนโดย Glo เช่นกัน

วารสารศาสตร์เชิงสืบสวนได้เปิดเผยว่า กลยุทธ์หลายอย่างที่อุตสาหกรรมยาสูบและนิโคตินใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังดึงดูดคนรุ่นใหม่รวมทั้งผู้ไม่สูบบุหรี่ให้สนใจนิโคตินและผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เสพติดสูง และนี่ดูเหมือนจะเป็นส่วนสำคัญของแผนการตลาดของ BAT ในตอนนี้ที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

กลยุทธ์เหล่านี้รวมถึง:

  • นำเสนอผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ ‘เท่ ’ และสร้างแรงบันดาลใจในแคมเปญโฆษณาที่เน้นเยาวชนเป็นเป้าหมาย
  • การจ่ายเงินให้อินฟลูเอนเซอร์ทางโซเชียลมีเดียเพื่อโปรโมตบุหรี่ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบ บนอินสตราแกรม แม้จะมีคำสั่งห้ามจากแพลตฟอร์มก็ตาม
  • การสนับสนุนกิจกรรมดนตรีและกีฬา รวมถึงการแข่งขัน F1 e-sports ที่สตรีมสดบน YouTube และเด็ก ๆ สามารถรับชมได้
  • และข้อเสนอข้ามประเทศ โดยให้ตัวอย่างถุงนิโคตินและบุหรี่ไฟฟ้าฟรี แก่เยาวชนและผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
ที่ประเทศไทย มติชนรายงานจากงานเสวนาวิชาการ “บุหรี่ไฟฟ้า วิกฤตสุขภาวะวัยรุ่นไทย” จัดโดย ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบในประเทศไทย 

“บุหรี่ไฟฟ้าออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ดูทันสมัย มีรสชาติมากเกือบ 20,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นรสขนมหวาน ลูกอม หมากฝรั่ง ผลไม้ น้ำอัดลม ชาเขียว นมเปรี้ยว ที่ล้วนเป็นรสชาติที่เด็กและวัยรุ่นชื่นชอบ และยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าไม่อันตราย สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป้าหมายสำคัญของบุหรี่ไฟฟ้าคือเด็กและเยาวชน” นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการโครงการครอบครัวปลอดบุหรี่ กล่าว

รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวต่อว่า สถาบันวิจัยอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาข้อมูลการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพฯ อายุ 14-17 ปี พบว่าเด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ 72% มีการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น สุรา กัญชา บุหรี่ และงานวิจัยในต่างประเทศพบว่ายิ่งเด็กเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตอนอายุยิ่งน้อย ยิ่งเสี่ยงที่จะติดสารเสพติดอื่น ๆ มากขึ้น บุหรี่ไฟฟ้าจะก่อให้เกิดปัญหานำไปสู่การใช้สารเสพติดต่าง ๆ 

จากข้อมูลสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563 พบเด็กและเยาวชนไทยอายุ 10-19 ปี ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ากว่าครึ่งหรือ 53% มีภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้าด้วยและเด็กที่เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 2 เท่า

โรคซึมเศร้า

ผู้เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นและเร่งดำเนินการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นสิ่งผิดกฎหมายให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น มีการวางกติกาสังคมเพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ เช่น ประกาศนโยบายไม่รับคนสูบบุหรี่เข้าทำงาน หากสูบต้องเลิกภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยจัดบริการเลิกสูบบุหรี่รองรับ บริษัทประกันควรไม่รับทำประกันสุขภาพให้แก่คนสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นการส่งสัญญาณไปยังเด็กและเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ทำลายสุขภาพเหล่านี้


ข้อมูล
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3651557
https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/new-products-old-tricks-concerns-big-tobacco-is-targeting-youngsters-th


สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 221
เดือนพฤษภาคม 2566
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th 

ความคิดเห็น