ผักกระเฉด (Water mimosa) จัดเป็นพืชน้ำประเภทลอยน้ำในตระกูลถั่วที่มีอายุนานหลายปี นิยมนำมาประกอบอาหาร หรือกินเป็นผักสด โดยเฉพาะยอดอ่อนที่ให้เนื้อกรอบ มีรสมัน
ผักกระเฉด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหละหนอง (แม่ฮ่องสอน), ผักกระเสดน้ำ (ยโสธร, อุดรธานี, ภาคอีสาน), ผักกระเฉด ผักรู้นอน (ภาคกลาง), ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้) เป็นต้น
กระเฉด จัดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลม เนื้อนิ่ม ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบกระถิน โดยใบจะหุบในยามกลางคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ "ผักรู้นอน" ระหว่างข้อจะมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้นที่เรียกว่า "นม" ซึ่งทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้นั่นเอง และยังมีรากงอกออกมาตามข้อซึ่งจะเรียกว่า "หนวด" ลักษณะของดอกจะเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง และผลจะมีลักษณะเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย แบน มีเมล็ดประมาณ 4-10 เมล็ด
คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด 100 กรัมจะมี ธาตุแคลเซียม 123 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี อีกด้วย
ผักกระเฉดจัดเป็นสมุนไพรโดยตามตำราสมุนไพรไทยระบุว่า ผักกระเฉดจะเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ
ควรเลือกซื้อผักกระเฉดที่มียอดอ่อน เพราะจะมีความกรอบและอร่อยมากกว่าผักกระเฉดแก่ สำหรับเคล็ดลับในการลวกผักง่าย ๆ ก็คือ ต้องตั้งน้ำให้เดือด ใส่เกลือเล็กน้อย อย่าลวกนานเพราะจะทำให้ผักกระเฉดเหนียวได้ หรือถ้าจะให้ดีเมื่อลวกเสร็จแล้วให้ตักผักใส่น้ำเย็นจัดทันที จะทำให้ผักกระเฉดกรอบอร่อยและน่ารับประทานมากขึ้น
ข้อควรระวัง : มีคำแนะนำออกมาว่าการรับประทานผักกระเฉดควรทำให้สุกก่อนนำมารับประทาน เพราะมีความเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่อาจปะปนเข้ามา รวมไปถึง "ไข่ปลิง" ที่ทนความร้อนได้สูงมาก
ในการรับประทานผักกระเฉดที่ไม่ผ่านการต้มเดือดถึง 500 องศาเซลเซียส อาจเสี่ยงที่จะรับประทานไข่ปลิงเข้าไปได้ ทางที่ดีควรต้มให้เดือดมาก ๆ เป็นชั่วโมงเสียก่อนจึงจะปลอดภัย เพราะเจ้าไข่ปลิงตัวนี้สามารถทนความร้อนได้สูงมาก ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวัง ในการปรุงอาหารก่อนรับประทาน จะได้ไม่เป็นอันตราย
https://www.sanook.com/campus/1376577/
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1663&code_db=610010&code_type=01
https://puechkaset.com/ผักกระเฉด/
เดือนพฤษภาคม 2566
www.muslim4health.or.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น