โรคพิษใบยาสูบสด (Green tobacco sickness-GTS) เกิดจากการดูดซึมนิโคตินที่ละลายอยู่ในน้ำบนใบยาสูบสด เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง ส่วนมากเกิดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบยาสูบ ทำให้เกิด
พิษนิโคตินเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการ หน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นต้น
ดังนั้นการสัมผัสนิโคตินจะเกิดขึ้นมากที่สุดในตอนเช้าเพราะมีน้ำค้างเป็นจำนวน มากบนใบยาสูบโดยน้ำค้าง 100 ml มีนิโคตินถึง 9 mg หรือเทียบเท่านิโคตินในบุหรี่ 6 มวน และในวันที่อากาศชื้นหรือมีฝนตกเกษตรกรสามารถสัมผัสน้ำค้างได้ ถึง 600 ml หรือเทียบเท่ากับการสัมผัสนิโคตินในบุหรี่ 36 มวน
อาการต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ 3-17 ชั่วโมงหลังสัมผัสกับใบยาสบูสดที่เปียกชุ่ม และอาการจะคงอยู่ได้ 1-3 วันหลังจากมีอาการ แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงทำให้เกิด อาการขาดน้ำ ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน อาการของโรคพิษใบยาสูบสดคล้ายกับการบาดเจ็บจากความร้อนและพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช จึงทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยโรคได้หากไม่คุ้นเคยกับโรคนี้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ ผิวหนังไม่สมบูรณ์ เช่น ผดผื่น แผลถลอก แผลถูกบาด การดื่มแอลกอฮอล์ สภาวะเปียกชุ่ม ความชื้น และความร้อน
โรคพิษใบยาสูบสดพบได้ในหลายประเทศที่ปลูกใบยาสูบ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งมีความชุกที่แตกต่างกันไปในแต่ละงานวิจัยเนื่องจากในแต่ละประเทศมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้แตกต่างกัน
ผลกระทบและความชุกของโรคพิษใบยาสูบสด ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โรคพิษใบยาสูบสดได้รับการกล่าวถึงในคนงานในไร่ยาสูบในหลายภูมิภาคในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย โปแลนด์ และล่าสุดในบราซิล
สำหรับประเทศไทยมีการศึกษาของ Saleeon และคณะโดยศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบในจังหวัดน่านจำนวน 473 คน พบความชุกร้อยละ 22.6 แสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยเองมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยแต่ยังขาดข้อมูลทางวิชาการ และ ยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยที่ ชัดเจน แม้จะมีการศึกษามามากกว่า 20 ปีแล้วแต่ยังไม่มีสมาคมหรือองค์กรใดสร้างเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา
แม้โรคพิษใบยาสูบสดจะสามารถหายเองได้ แต่มีบางกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักหากไม่ได้รับการ ดูแลที่ถูกต้อง เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการที่เข้าได้กับโรค พิษใบยาสูบสด ให้นำผู้ป่วยออกจากบริเวณไร่ยาสูบ ในทันที เปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ และดื่มน้ำให้เพียงพอ หากผู้ป่วยไม่สามารถดื่มน้ำได้และมีอาการมากขึ้น ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และหากผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้นสามารถให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาในกลุ่ม Anti-Histamine เป็นต้น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/181813
บทความฟื้นฟูวิชาการ – โรคพิษใบยาสูบสด -โดยมารุต ตำหนักโพธิ พ.บ.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5868082/
www.muslim4health.or.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น