ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา อยู่ใต้กระดูกซี่โครงบริเวณชายโครงขวาเลยมาถึงลิ้นปี่ ปกติกล้ามเนื้อตับจะมีสีแดง หนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หน้าที่หลักๆ ของตับจะเกี่ยวกับการควบคุมสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน และผลิตสารชีวเคมีที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็น
- การย่อยสารอาหาร ตับจะนำสารอาหารที่ได้รับการย่อยมาแล้วในระดับหนึ่งเปลี่ยนให้
- เป็นสารอาหารที่จำเป็น และเหมาะกับการใช้ในแต่ละอวัยวะ เช่น สร้างโปรตีนอัลบูมิน หรือโปรตีนไข่ขาวที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- การสะสมอาหาร ตับจะสำรองสารอาหารไว้ใช้ในเวลาที่ร่างกายต้องการ เช่น เก็บน้ำตาล
- กลูโคสไว้ในตับ ทันทีที่ร่างกายต้องการพลังงานอย่างรวดเร็ว ตับก็จะส่งกลูโคสนี้ออกมา นอกจากนี้ตับยังเป็นแหล่งสะสมธาตุเหล็ก วิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ อีกด้วย
- การกำจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย ตับจะขับของเสียออกมาในรูปแบบของ
- น้ำดีส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งบางส่วนของน้ำดีจะเป็นของเสีย และบางส่วนจะทำหน้าที่ช่วยย่อยไขมันในลำไส้เพื่อดูดซึมสารอาหาร และวิตามินเอ ดี อี และเค มาใช้ด้วย
อาหาร ‘บำรุงตับ’
- เนื้อสัตว์สดทุกชนิด มีกรดอะมิโน โปรตีนที่ครบถ้วนมีประโยชน์ต่อตับ แต่ควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุขสะอาด ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง : ส้ม มะขามป้อม มะละกอ กีวี่ เป็นต้น ซึ่งผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง มีฤทธิ์ ช่วยลดการอักเสบและส่งเสริมการทำงานของตับให้ดีขึ้น
- ธัญพืช : ข้าวกล้อง ข้างไรซ์เบอรี่ ถั่วแดง ถัวเขียว เป็นต้น ซึ่งธัญพืชต่าง ๆ เหล่านี้มีไฟเบอร์สูง มีส่วนช่วยในการลดการดูดซึมไขมัน ลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
- น้ำมันชนิด MUFA สูง : น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า มีส่วนช่วยในการลดไขมันตัวร้าย ( LDL) และเพิ่มไขมันตัวดี (HDL) ซึ่ง HDL นั้นเป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยกำจัดไขมันชนิดร้ายออกจากร่างกาย ช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
อาหารทำลายตับ
- แอลกอฮอล์ : เป็นสารที่ถูกดูดซึม และ ทำลายที่ตับโดยตรง หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ตับถูกทำลายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตับแข็งได้
- วิตามิน A : หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป ทำให้เกิดพิษทำลายตับได้
- อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป : อาหารแปรรูปต่าง ๆจะต้องใส่สารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติ และเพื่อให้อาหารอยู่ได้นานขึ้น เช่น สารไนเตรท สารไนไตร สารกันบูด สารกันเชื้อรา เป็นต้น สารเหล่านี้จะถูกกรองที่ตับ หากได้รับในปริมาณมากเกินไปส่งผลทำร้ายตับได้
- หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ กึ่งสุข กึ่งดิบ โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ทะเล หากรับประทานแบบดิบ ๆ นั้น จะมีความเสี่ยงในการเจือปนสารตะกั่ว และสารพิษต่าง ๆ ที่มาจากทะเลได้ ซึ่งจะมีผลเสียต่อตับโดยตรง
ภาวะและโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ
- โรคตับที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือบริโภคสิ่งที่เป็นพิษต่อตับ เช่น การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์มากเกินไป การรับหรือสัมผัสสารเคมีบางชนิด การใช้ยาบางชนิดเกินขนาดที่แนะนำ หรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคตับชนิดต่าง ๆ เช่น โรคตับจากแอลกอฮอล์ alcohol-related liver disease (ARLD หรือ ALD) โรคตับแข็ง โรคไขมันพอกตับ
- โรคมะเร็งตับ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในตับ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่มาจากแอลกอฮอล์และปัจจัยอื่น ๆ
- โรคตับที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ยกตัวอย่างเช่น ภาวะเหล็กเกิน หรือ hemochromatosis (Iron overload) ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson disease)
- โรคตับจากระบบภูมิคุ้มกัน โรคตับในกลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ในตับ เช่น โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน โรคท่อน้ำดีอักเสบชนิดปฐมภูมิ
- โรคตับจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งโรคเหล่านี้อาจนำไปสู่การเป็นโรคตับแข็ง และนอกเหนือจากไวรัสตับอักเสบยังมีโรคพยาธิใบไม้ตับที่อาจส่งผลให้ท่อน้ำดีอักเสบ
ข้อมูล
https://thainakarin.co.th/food-nourish-the-liver/
https://bangkokpattayahospital.com/th/health-articles-th/gastrointestinal-liver-th/understand-your-liver/
http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/70_2016-08-09.pdf
สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 228
เดือนกุมภาพันธ์ 2567
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th
www.muslim4health.or.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น