ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ต Oat เป็นเพียงต้นหญ้าที่ขึ้นแทรกในนาข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ จึงถูกเก็บเกี่ยวมาด้วยและใช้กินเป็นธัญพืช เมื่อพื้นที่ข้าวสาลีมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวโอ๊ตจึงถูกใช้เป็นอาหารสัตว์ ยกเว้นในดินแดนที่ยากจนและทุรกันดารแถบยุโรปตอนเหนือเท่านั้นที่ยังใช้เป็นอาหารของคน ข้าวโอ๊ตปลูกกันมากเฉพาะในเขตยุโรปตอนเหนือที่อากาศค่อนข้างหนาวและมีแสงแดดน้อย โดยเฉพาะเยอรมันตอนเหนือ กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และรัสเซีย

ข้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชไม่ขัดสีที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมด้วยใยอาหารและมีแคลอรี่ต่ำ จึงอาจดีต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหอบหืดในเด็ก และช่วยทำให้อิ่มนานขึ้น นอกจากนี้ ข้าวโอ๊ตยังปราศจากกลูเตน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค* (Celiac Disease) และผู้ที่แพ้กลูเตนด้วย

ข้าวโอ๊ต มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยข้าวโอ๊ตปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 389 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 66.3 กรัม โปรตีน 16.9 กรัม ไขมัน 6.9 กรัม และใยอาหาร 10.6 กรัม นอกจากนี้ข้าวโอ๊ตยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด คือ วิตามิน บี 1 บี 5 โฟเลต แมงกานีส ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก และสังกะสี

งานวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวถึงประโยชน์ของข้าวโอ๊ต เช่น งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อ พ.ศ. 2538 ศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่มีสารสกัดที่ละลายในน้ำได้ในข้าวโอ๊ต พบว่า เบต้ากลูแคนที่ละลายน้ำได้ในข้าวโอ๊ตอาจส่งผลดีต่อไขมันในเลือด นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้การตอบสนองต่อกลูโคสและอินซูลินลดลงทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ดังนั้น การได้รับสารสกัดจากข้าวโอ๊ตในปริมาณที่เหมาะสมอาจมีผลดีต่อการตอบสนองของกลูโคส

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American College of Nutrition เมื่อ พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวกับความอยากอาหารและความอิ่ม พบว่า ข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์และโปรตีนสูง มีน้ำตาลต่ำ ซึ่งส่งผลให้อิ่มนานขึ้น ทำให้ความหิวลดลง และช่วยควบคุมความอยากอาหาร 

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Allergy and Clinical Immunology เมื่อ พ.ศ. 2556 ศึกษาเกี่ยวกับอาหารทารกที่สัมพันธ์กับโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ในเด็ก พบว่า การให้ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์แก่เด็กทารกก่อนอายุ 6 เดือน มีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหอบหืดและโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อย่างมีนัยสำคัญ

ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต พอสังเขป

  • ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยเส้นใยสำหรับใครที่ขับถ่ายยาก แนะนำให้เพิ่มสัดส่วนข้าวโอ๊ตใน
  • มื้ออาหารของคุณให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพการขับถ่ายที่ดี 
  • ข้าวโอ๊ตช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้กับผิวได้เป็นอย่างดี ช่วยบรรเทาผิวแห้งกร้านและลด
  • อาการระคายเคือง
  • ข้าวโอ๊ตช่วยปลอบประโลมผิว เพราะข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลด
  • การอักเสบ บรรเทาอาการคันและระคายเคืองของผิว อีกทั้งยังช่วยรักษาผื่นแพ้ ผื่นคันอีกด้วย
  • ข้าวโอ๊ตช่วยรักษาสิว เนื่องจากข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยซิงค์ที่ช่วยลดการอักเสบและช่วย
  • กำจัดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว อีกทั้งข้าวโอ๊ตยังช่วยดูดซับน้ำมันส่วนเกินบนผิวหนัง ปรับสมดุลของระดับน้ำมันบนผิวหนัง ป้องกันรูขุมขนอุดตัน ซึ่งเป็นผลให้เกิดสิวอุดตันตามมา
  • ข้าวโอ๊ตช่วยฟื้นฟูสภาพผิว ช่วยให้ผิวกลับมาอ่อนเยาว์ เปล่งปลั่ง และเนียนนุ่ม
  • ข้าวโอ๊ตช่วยให้ผิวสะอาดหมดจดได้ เพียงแค่นำข้าวโอ๊ตมาผสมในผลิตภัณฑ์ทำความ
  • สะอาดผิว เช่น สบู่ เพราะในข้าวโอ๊ตมีสารที่ชื่อว่า ‘ซาโปนิน’ (Saponin) ซึ่งจะช่วยดูดซับสิ่งสกปรก ทำให้สามารถชำระล้างออกได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ข้าวโอ๊ตเหมาะกับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย และผู้ที่มีผิวแห้ง 
  • หากใช้ข้าวโอ๊ตในการบำรุงผิวจะเกิดการแพ้ต่ำ เนื่องจากข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มาจากธรรมชาติจึงมีความอ่อนโยนต่อผิว
  • ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารยอดฮิตสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก กินกับอะไรก็อร่อย แต่ถ้ากินไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดผลกระทบเหล่านี้ตามมาได้
  • หากกินข้าวโอ๊ตมากเกินไปอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารและทำให้ท้องอืด อีก
  • ทั้งยังทำให้ท้องเป็นตะคริวได้ในบางคน เพราะข้าวโอ๊ตนั้นมีเส้นใยอาหารอยู่มากและละลายน้ำได้
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเซลิแอคและผู้ที่แพ้กลูเตน ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองว่า
  • ปราศจากกลูเตนเท่านั้น เนื่องจากบางครั้งข้าวโอ๊ตอาจปนเปื้อนกับธัญพืชอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการแพ้
  • ในข้าวโอ๊ตมีส่วนประกอบของโปรตีนอะวีนิน ซึ่งผู้ที่แพ้โปรตีนอะวีนินควรหลีกเลี่ยงการ
  • บริโภคข้าวโอ๊ตเพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคืองในปากและลำคอ คันตา ในกรณีที่แพ้รุนแรงอาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หมายเหตุ *Celiac Disease (โรคเซลิแอค) คือ โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพืชจำพวกข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี และข้าวไรย์ เมื่อรับประทานโปรตีนชนิดนี้จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำลายผนังลำไส้จนทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในระบบขับถ่าย เช่น ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องอืด เป็นต้น หากเกิดในเด็กก็อาจมีผลต่อพัฒนาการของเด็กด้วย 

ข้อมูล
https://medthai.com/ข้าวโอ๊ต/
https://hellokhunmor.com/โภชนาการเพื่อสุขภาพ/ข้อมูลโภชนาการ/ข้าวโอ๊ต-ประโยชน์-ผลข้างเคียง/
https://sumirethailand.com/สาระความรู้/ไขข้อข้องใจ-ข้าวโอ๊ตกิน/
https://www.pobpad.com/celiac-disease-โรคเซลิแอค

สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 228
เดือนกุมภาพันธ์ 2567
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th

ความคิดเห็น