แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างไร
- การหายใจ เช่น การสูดดมฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนแคดเมียม
- การรับประทาน เช่น การปนเปื้อนสารแคดเมียมในอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม เช่น ข้าวที่ปลูกบนดินที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมอยู่ สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน เนื้อหรือนมจากวัวที่กินหญ้าที่เกิดจากดินที่มีการปนเปื้อน
- การสัมผัสทางผิวหนัง
ผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียม
- พิษเฉียบพลัน (Acute toxicity)
มักพบในกรณีการหายใจเอาไอระเหยของแคดเมียมเข้าไป อาจมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงมากทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) หรือ ภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory failure) และอาจเสียชีวิตได้
- พิษเรื้อรัง (Chronic toxicity)
การได้รับสารแคดเมียมสะสมเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อความเป็นพิษต่อไต ทำให้ไตสูญเสียการทำงาน และอาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งการเกิดความผิดปกติของไตนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ไม่ได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้วไตก็ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ความเป็นพิษต่อกระดูก คือ แคดเมียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูก เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนและอาจมีอาการปวดกระดูกอย่างมากโดยเฉพาะที่กระดูกสะโพก ซึ่งเป็นอาการของโรคอิไต – อิไต โดยคนกลุ่มนี้จะมีอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย ความเป็นพิษต่อปอด ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ความเป็นพิษต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ และการเป็นสารก่อมะเร็ง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งที่ปอดและกระดูก
พิษของแคดเมียมยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ แคดเมียมยังมีส่วนที่ทำให้อาการของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
วิธีป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาล
- หากสูดดม: ให้รีบออกจากพื้นที่ รับอากาศบริสุทธิ์นำส่งแพทย์ทันที
- หากสัมผัสกับผิวหนัง: ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกหมดทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
- หากเข้าตา: ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก รีบพบจักษุแพทย์
- หากกลืนกิน/ดื่ม ให้รีบดื่มน้ำตามทันทีอย่างน้อย 2 แก้ว รีบพบแพทย์
- งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังเกตอาการตนเอง ผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที
แคดเมียม ป้องกันได้อย่างไร
กลุ่มคนงานที่ต้องสัมผัสกับแคดเมียม สามารถป้องกันได้โดย
- ใส่หน้ากาก เช่น หน้ากาก N95 ป้องกันไอระเหยจากสารเคมีโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการหายใจเอาไอของแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย
- ใส่ถุงมือตลอดเวลาในขณะปฎิบัติงาน
- ล้างมือและทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงานทุกครั้ง
- ประชาชนทั่วไปให้เฝ้าระวังและสังเกตอาการหากเกิดพิษที่เป็นผลจากแคดเมียม
วิธีเก็บรักษาแคดเมียม:
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น