Cherimoya (เชอริโมย่า) เป็นผลไม้ในวงศ์น้อยหน่า มีถิ่นกำเนิดในเอกวาดอร์และเปรู ภาษาไทยเรียกว่า น้อยหน่าออสเตรเลีย แต่มีการปลูกเพื่อการค้าอย่างแพร่หลายในประเทศชิลี โบลิเวีย สเปน สหรัฐ และนิวซีแลนด์
Cherimoya มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona cherimola งานวิจัยเรื่อง Uncovering the Nutritional Landscape of Food ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร PLoS ONE เป็นการจัดอันดับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด 1,000 ชนิด โดยหนึ่งในนั้นคือ Cherimoya หรือ น้อยหน่าออสเตรเลีย ถูกจัดอันดับให้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 รองจากอันดับ 1 อย่าง อัลมอนด์
เชื่อว่าต้นกำเนิดของน้อยหน่าออสเตรเลียอยู่ที่เทือกเขาแอนดีสที่ระดับความสูง 700 – 2,400 เมตร ในขณะที่มีอีกสมมติฐานหนึ่งเชื่อว่าแหล่งกำเนิดอยู่ที่อเมริกากลางเพราะพบพันธุ์ป่าในบริเวณนี้มาก
ผลของ Cherimoya จะมีสีตั้งแต่เขียวเข้มจนถึงเขียวอมเหลือง เมื่อผลแก่ผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี Cherimoya เนื้อสีขาวนวล รสชาติหวานมัน คล้ายนมข้นหวานผสมไอศกรีม
ที่สำคัญคือ Cherimoya ปลูกง่าย ทนต่อสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ใช้เวลาปลูกประมาณ 3-5 ปี ก็เริ่มให้ผลผลิต ขายได้ราคาดีอีกด้วย
Cherimoya มีประโยชน์มากมาย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้แก่ กรดไคเรโนอิก ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ และวิตามินซี ที่จะช่วยยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดความเครียด ความเจ็บป่วยเรื้อรัง รวมถึงป้องกันโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
Cherimoya มีวิตามินบี 6 มากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน ถึง 30% เปรียบเทียบง่าย ๆ คือเราสามารถรับประทาน Cherimoya เพียงแค่ 1 ผล ประมาณ (160 กรัม) ก็ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินบี 6 ได้เพียงพอในหนึ่งวัน ซึ่งวิตามินบี 6 ได้แก่ เซโรโทนิน และโดพามีน มีส่วนสำคัญในการสร้างระบบประสาท ช่วยควบคุมอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยจากการทดลองพบว่าผู้ที่มีระดับวิตามินบี 6 ในเลือดที่ต่ำนั้น มีการเชื่อมโยงต่อภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญ
Cherimoya มีสารโพแทสเซียมที่สูงกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน มากถึง 10% และสารแมกนีเซียมสูงมากถึง 6% โดยทั้งโพแทสเซียมและแมกนีเซียม เป็นสารที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจส่งผลถึงความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
Cherimoya มีเส้นใยอาหารเกือบ 5 กรัม ซึ่งมากกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวันมากถึง 17% โดยเส้นใยที่พบเป็นเส้นใยที่สามารถเลี้ยงแบคทีเรียดีในลำไส้มนุษย์ได้ ดังนั้นจึงสามารถช่วยเรื่องระบบขับถ่าย รวมถึงยังสามารถป้องกันโรคทางเดินอาหารอักเสบได้เช่นกัน
ข้อควรระวัง - ไม่แนะนำให้รับประทานเปลือก เพราะสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ที่พบบนเปลือกของ Cherimoya อาจมีฤทธิ์แรงเป็นพิเศษ จนอาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้ บางรายงานระบุห้ามรับประทานเมล็ดที่เป็นพิษ
https://th.wikipedia.org/wiki/น้อยหน่าออสเตรเลีย
https://farmexpo.co.th/เชอริโมยา-cherimoya-ผลไม้แปลก/
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/905775
https://b9mart.com/index.php?threads/เชอริโมยา-cherimoya.4650/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น