ในปี 2004 ไอร์แลนด์กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ เช่น สำนักงาน บาร์ ร้านอาหาร และระบบขนส่งสาธารณะ
ต่อมา สหภาพยุโรป (อียู) อีก 16 ประเทศได้ออกกฎหมายลักษณะเดียวกัน แม้ว่าสหภาพยุโรปจะระบุว่า ประเทศสมาชิกบางประเทศไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัด
ปัจจุบันทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้มีกฎหมายต่อต้านการสูบบุหรี่ เช่น ในปี 2006 อุรุกวัยห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ปิดในสาธารณะทั้งหมด รวมถึงบริเวณใกล้โรงพยาบาลและโรงเรียน
ปารากวัยกลายเป็นประเทศสุดท้ายในทวีปที่ผ่านกฎหมายระดับชาติห้ามสูบบุหรี่ แต่ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ผู้คนในปารากวัยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบได้เฉพาะในพื้นที่กลางแจ้งที่ไม่มีผู้คนพลุกพล่านเท่านั้น
ในปี 2023 เม็กซิโกออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ที่เข้มงวดที่สุดในโลกกฎหมายหนึ่ง คือการห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะทุกแห่ง รวมถึงสวนสาธารณะ ชายหาด โรงแรม สำนักงาน และร้านอาหาร ซึ่งหมายความว่าชาวเม็กซิกันสูบบุหรี่ได้เฉพาะภายในบ้านพักอาศัยส่วนบุคคลเท่านั้น
ตั้งแต่ ก.ค. 2024 ผู้ผลิตยาสูบในแคนาดาจะต้องพิมพ์คำเตือนด้านสุขภาพบนบุหรี่แต่ละมวน
ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่า ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งยังห้ามขายในบริเวณวัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา สถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
ประเทศไทย
กฎหมายของไทยยังห้ามการโฆษณาหรือการทำสื่อสารการตลาดที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ
สถานการณ์การสูบบุหรี่ของประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2564 พบว่า มีผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็น 17.4% ของประชากรไทยที่มีอายุมากกว่า 15 ปี
ช่วงอายุระหว่าง 25-44 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการสูบบุหรี่มากที่สุด 21%
ยังมีรายงานจากสำนักงานสถิติในปี 2564 เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า โดยพบว่า มีคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน เป็นเพศชาย 71,486 คน เพศหญิง 7,256 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี รวม 24,050 คน
แนวโน้มการสูบบุหรี่ของประชากร
แนวโน้มอัตราสูบบุหรี่ของผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ในภาพรวมทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2564 พบว่ามีแนวโน้มค่อนข้างลดลงอย่ำงต่อเนื่องจากร้อยละ 23.0 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 17.4 ในปี 2564 ผู้ชายที่สูบบุหรี่ลดลงมำกกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายลดลงจากร้อยละ 43.7 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2564 สำหรับผู้หญิงลดลงจาก 2.6 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 1.3 ในปี 2564
สหราชอาณาจักร
สถาบันวิจัยสุขภาพและการดูแลแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (National Institute for Health and Care Research) ได้ศึกษาผลกระทบของการห้ามสูบบุหรี่ใน 21 ประเทศ โดยระบุว่า มีหลักฐานชี้ว่า การห้ามสูบบุหรี่ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดสมองลดลง รวมถึงโรคหลอดลมอักเสบและโรคหืดด้วย
ในปี 2007 มีการขยายขอบเขตการห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ปิดในที่สาธารณะและสำนักงานทั่วสหราชอาณาจักร
รายงานในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal--BMJ) ระบุว่า ในปีถัดมา มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจวายลดลง 1,200 คน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ พบว่า หลังจากมีการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะในสกอตแลนด์ จำนวนเด็กที่เข้าโรงพยาบาลด้วยโรคหืดหอบลดลงเกือบหนึ่งในห้า เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน
ก่อนที่จะมีการห้ามสูบบุหรี่ในสกอตแลนด์ จำนวนเด็กที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคหืดหอบเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี
นอกจากนี้ การห้ามสูบบุหรี่ยังกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากเลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่
ตามข้อมูลของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ในปี 2006 ผู้ใหญ่ในสหราชอาณาจักร 22% เคยเป็นผู้สูบบุหรี่ ต่อมาภายในปี 2023 มีผู้ใหญ่เพียง 14% เท่านั้นที่ยังคงสูบบุหรี่
องค์การอนามัยโลกระบุว่า เนื่องจากมาตรการห้ามสูบบุหรี่ที่ดำเนินการทั่วโลกตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อาจมีผู้สูบบุหรี่ลดลงประมาณ 300 ล้านคน จากประชากรทั่วโลก หากเทียบกับสถานการณ์ที่ไม่มีมาตรการควบคุมดูแล
https://www.bbc.com/thai/articles/ceq3y6e144vo
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น