หอยนางรม

หอยนางรม มีชื่อสามัญ คือ Oyster หอยนางรมมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันอยู่โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ หอยนางรมพันธุ์เล็กหรือหอยนางรมปากจีบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccostrea commercialis หอยนางรมพันธุ์นี้มีเลี้ยงมากทางภาคตะวันออก ส่วนหอยรมอีกสองพันธุ์ที่เหลือเป็นหอยนางรมที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่เรียกว่า หอยตะโกรม (Crassostrea belcheri) และหอยตะโกรมกรามดำ (C.lugubris) มีการเลี้ยงกันบ้างในภาคตะวันออก แต่การเลี้ยงส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตจังหวัดในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยนางรมเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร เป็นแหล่งของวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง บีสาม ซี และดี การบริโภคหอยนางรมตัวที่มีขนาดกลาง 4-5 ตัว ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภทเหล็ก ทองแดง ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี แมงกานีส และฟอสฟอรัส สถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยนางรมอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร คือเป็นแหล่งของวิตามินเอ บีหนึ่ง (ไทอามิน) บีสอง (ไรโบฟลาวิน) บีสาม (ไนอาซิน) ซี (กรมแอสคอร์บิค) และดี (แคลซิฟีรอล) 

ประโยชน์ของหอยนางรม

  1. กระตุ้นระบบสืบพันธุ์ และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  2. ลดระดับไขมันในเลือด
  3. ลดระดับความดันโลหิต
  4. รักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุน
  5. รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี
  6. บำรุงสายตา

การบริโภคหอยนางรมตัวที่มีขนาดกลาง 4-5 ตัว ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภท แร่เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี แมงกานีสและฟอสฟอรัส อย่างไรก็ตาม อาหารดิบ อาจมีแบคทีเรียผู้ที่ป่วยด้วยโรคตับ มะเร็งโรคระบบภูมิคุ้มกัน 

ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานหอยนางรมดิบ อาจทำให้มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ Vibrio parahaemolyticus หรือ VP ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในกุ้ง กั้ง ปู และหอย ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบหากกินดิบๆ หรือปรุงไม่สุกเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้จะทำให้มีอาการท้องเสีย เป็นตะคริวในช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ปวดหัว มีไข้ และหนาวสั่น ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน เชื้อโรคจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 4-96 ชั่วโมง แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว ๆ 15 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อเข้าทางปาก

นอกจากเชื้อ VP แล้ว การกินหอยนางรมดิบ ยังอาจได้รับเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) เชื้อแคมไพโลแบคเทอร์ (Campylobacter) หรือสารพิษในกลุ่ม Shellfish Poisoning ซึ่งมีอันตรายมากกว่าและอาจถึงขั้นเสียชีวิต ผู้ที่ต้องระวังเป็นพิเศษในการกินหอยนางรมสด คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคตับ (มีความเสี่ยงมากกว่าปกติถึง 200 เท่า) รวมถึงคนที่เป็น โรคไต มะเร็ง เบาหวาน และโรคเอดส์ด้วย

หากรับประทานหอยนางรมแล้วปรากฏตัวอย่างอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที

  • สัญญาณการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ตัวสั่น มีผื่นและตุ่มคันขึ้นตามผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือช็อค
  • สัญญานอาการแพ้ เช่น ชาในปาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีผื่นคันตามผิวหนัง หน้าบวม คอบวม หายใจไม่ออก วิงเวียน หมดสติ หรือช็อค


ข้อมูล
https://www.pobpad.com/หอยนางรม-ประโยชน์ต่อสุข
https://th.wikipedia.org/wiki/หอยนางรม
https://www.oonorganic.com/Article/Detail/148
http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/BSTI_07_2560_Oysters.pdf

สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 236
เดือนตุลาคม 2567
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th

ความคิดเห็น