อาหารเช้า สำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสมอง

ตามหลักโภชนาการอาหารทุกมื้อสำคัญ ควรกินอาหารทุกมื้อในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ร่างกายจึงจะได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอ โดยในเด็กเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่ในผู้ใหญ่ใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของวัยเรียนโดยกรมอนามัย พบว่า เด็กวัยเรียน 6-11 ปี ร้อยละ 30 ไม่รับประทานอาหารเช้า และมีพฤติกรรมการไม่รับประทานอาหารเช้าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในนักเรียนหญิงอายุ 12-14 ปี ร้อยละ 52 ไม่รับประทานอาหารเช้า ทั้ง ๆ ที่การไม่รับประทานอาหารเช้าเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะส่งผลโดยตรงในด้านการพัฒนาการของเด็กในวัยเรียน และพัฒนาการด้านอารมณ์ สมอง และความจำ

อาหารเช้ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  1. อาหารเช้าช่วยควบคุมน้ำหนักได้
    คำว่า อาหารเช้าหรือ breakfast ในภาษาอังกฤษ หมายถึง “to break the fast” หรือ “การหยุดการอดอาหาร” เพราะว่าจากมื้อเย็นของเมื่อวานจนถึงเช้าวันนี้ เราอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง และถ้าเราไม่กินอาหารเช้า ระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำลง ร่างกายยังรู้สึกหิวตลอดเวลา ทำให้บริโภคอาหารมื้อถัดไปมากขึ้น และต้องการกินอาหารจุบจิบอีก ซึ่งมักจะเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกายในมื้อต่อไป เป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว สุดท้าย โรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ จะตามมา

  2. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจ
    เพราะในตอนเช้าเลือดของเรามีความเข้มข้นสูง ส่งผลให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอุดตันได้ แต่ถ้ากินอาหารเช้าเข้าไปจะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลง

  3. จะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลง
    โดยคนที่กินอาหารเช้าจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาหารตามธงโภชนาการ อาหารที่ทำให้ลูกน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานนั้นลดลงถึงร้อยละ เช่นกัน ต้องครบคุณค่า และต้องหลากหลาย

  4. ลดโอกาสเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี
    การไม่กินอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมงจะทำให้คอเลสเตอรอลไปจับตัวกันนั้นจะกลายเป็นก้อนนิ่ว แต่หากเรากินอาหารเช้าเข้าไป จะกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายคอเลสเตอรอลที่จับตัวกันอยู่ได้

  5. อาหารเช้ากระตุ้นพลังสมอง
    เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการทำงาน ทำให้ระบบความจำ ทักษะการเรียนรู้ดีขึ้น

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ระบุว่า การอดอาหารเช้า อาจเป็นภัยเงียบส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น

  • อัมพฤกษ์ อัมพาต ทั้งจากเส้นเลือดแตก และตันในสมอง
  • โรคเส้นเลือดและหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ความเครียด จากการทำงานผิดปกติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส และฮอร์โมน

ขณะที่ พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ที่ระบุว่า การอดอาหารเช้าไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สดชื่น ขาดความกระตือรือร้น ความจำไม่ดี ฯลฯ ยังเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

“สมองไม่เหมือนกับร่างกายในส่วนอื่นที่จะมีสต๊อกเลือดที่หล่อเลี้ยงตลอดเวลา แต่ขึ้นอยู่กับการส่งเลือดมาเลี้ยงโดยตรง ฉะนั้น สมองจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดที่มาเลี้ยงพอเพียง น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำจะมีผลต่อสมอง ทำให้อารมณ์ความคิดของเรา ในคนอายุมาก เวลาหิวมาก ๆ ไม่ใจสั่น แต่จะง่วง เพราะมันจะปิดสวิตช์เลย ฉะนั้นในคนสูงอายุถ้าน้ำตาลตกก็จะซึมกะทือ”

“การอดอาหารเช้าสำคัญมาก เพราะระดับน้ำตาลที่น้อยลงทำให้เซลล์สมองบางตัวหยุดทำงาน โดยที่เราไม่รู้ว่ามันหยุดไปแล้ว” คุณหมอกล่าว


สุขสาระออนไลน์ ฉบับที่ 239
เดือนมกราคม 2568
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th

ความคิดเห็น