บุหรี่ไฟฟ้าถูกสร้างให้เป็นพระเอกในเรื่องการเลิกบุหรี่ แต่...
จอร์แดน นอร์ธ นักจัดรายการและผู้จัดรายการพอดแคสต์ ชาวอังกฤษ อายุ 34 ปี บอกเล่าเรื่องราวของเขากับบุหรี่ทั้งสองชนิดว่า
“ผมสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 16 ปี ...พยายามเลิกบุหรี่มาหลายครั้งแต่ล้มเหลว ผมพบว่าการเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่ได้...น้อยลงจริง ๆ… แต่ไม่นาน มันก็ถึงขั้นที่ผมสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าสูบบุหรี่ธรรมดาในหนึ่งวัน...มันกลายเป็นว่า ผมเพิ่งเปลี่ยนนิสัยไม่ดีอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างแล้วหรือเปล่า?”
ดร. สตีเฟน ชิลด์ส นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ ซึ่งกำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เป็นจำนวนมาก กล่าวกับนอร์ธว่า ..ไอที่สูดเข้าไปจากบุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติด และยังมีสารเคมีอื่น ๆ อีกเล็กน้อยที่ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติผสมอยู่อีกด้วย...
น้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารเติมแต่งที่มักพบในอาหารแปรรูป เช่น ซอสและส่วนผสมสำหรับทำเค้ก แม้ว่าสารเหล่านี้ปลอดภัยต่อการบริโภค แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณสูดดมเข้าไป?
“มีการศึกษาในระยะสั้นบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าอาจมีสิ่งต่าง ๆ เช่น อาการอักเสบในปอดที่เกิดจากการสูดดมสารเคมี (สารปรุงแต่ง) ประเภทนี้” ดร. ชิลด์สกล่าว
ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้ามีทั้งแบบเฉียบพลันทำให้ปอดอักเสบรุนแรงจนเป็นโรคที่เรียกว่า “EVALI” หรือส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจระยะยาว และบุหรี่ไฟฟ้ายังประกอบด้วยสารก่อมะเร็งได้ เช่น โพรไพลีนไกลคอล และกลีเซอรีน หากสูดดมอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองปอดได้ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหอบหืด
ประเทศไทย - ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2562-2563) ในกลุ่มอายุ 10-19 ปี จำนวน 4,237 คน พบความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับภาวะซึมเศร้า พบวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ากว่าครึ่งหรือ 53% มีภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้า เกิดจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าที่มีการแต่งกลิ่นรสชาติ เป็นสารเสพติดเป็นพิษต่อสมองโดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่สมองทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ประสาทในส่วนที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า
ธันวาคม พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่า "หลักฐานที่น่าตกใจ" เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
สหราชอาณาจักร - บุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเกือบห้าล้านชิ้นถูกทิ้งเกลื่อนกลาดหรือเพิ่มลงในขยะทั่วไปทุกสัปดาห์ในปี 2566 ตามข้อมูลของกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการในชนบท
การทิ้งแบตเตอรี่ลงในขยะในครัวเรือนทำให้เกิดเพลิงไหม้ในรถบรรทุกขยะและศูนย์จัดการขยะหลายร้อยแห่งทุกปี
นอกจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังมีแผงวงจรด้วย ซึ่งหากไม่ได้กำจัดอย่างถูกต้อง อาจทำให้สารประกอบพิษ เช่น โคบอลต์และทองแดง รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมในขณะที่เสื่อมสภาพได้
แร่ธาตุและลิเธียมเหล่านี้หากสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อาจนำไปใช้ในเทคโนโลยีสีเขียว เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหรือกังหันลม
ในปี พ.ศ. 2523 บุหรี่ไฟฟ้าที่มีลิเธียมมากกว่า 40 ตันถูกทิ้ง ซึ่งเพียงพอสำหรับขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า 5,000 คัน
สหรัฐอเมริกา - ในปี พ.ศ. 2558-2556 มีรายงานระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าเกิดระเบิดประมาณ 2,035 ครั้ง ทำให้มีผู้บาดเจ็บต้องเข้าฉุกเฉินของโรงพยาบาล ซึ่งต่อมา สหภาพแอร์โฮสเตสของสหรัฐฯ ได้เรียกร้องไปยัง สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ ไม่ให้มีการนำบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน เพราะเสี่ยงต่อการระเบิดบนเครื่องบิน
อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากขนาดและวิธีการผลิต ทำให้ยากต่อการถอดแยกชิ้นส่วน
ข้อมูล
- https://www.bbc.com/news/uk-68611304
- https://www.bbc.com/news/health-66784967
- https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/evali
- https://www.hfocus.org/content/2024/06/30806
- เว็บไซต์-ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น