ผลกระทบอันทรงพลังของอาหารที่มีต่อสุขภาพและอายุขัย การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน และแม้แต่ภาวะทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล
โรคที่เกี่ยวข้องกับอาหารเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา และการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเช่นเดียวกัน
ในสหรัฐอเมริกา ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ไม่เพียงแต่พบได้ทั่วไปและส่งผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วย การรักษาความดันโลหิตสูง เบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูงมีค่าใช้จ่ายประมาณ 400,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี คาดว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเป็น 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ภายใน 25 ปี
โภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ
จากสถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งที่อาจมีสาเหตุมาจากการกินอาหาร ปีละกว่า 4 แสนคน
จากผลสำรวจ “การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย” พบว่า “กลุ่มคนรายได้สูง” ดื่มเครื่องดื่มชงที่มีรสหวาน สูงถึงร้อยละ 31.4 ดื่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์บรรจุขวด ร้อยละ 20.5 และรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ร้อยละ 17.3 ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนรายได้น้อยอย่างชัดเจน (รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566)
ส่วน “กลุ่มคนรายได้น้อย” พบว่า รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป สูงถึงร้อยละ 22.9 และการรับประทานอาหารชนิดกึ่งสำเร็จรูป อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพมากกว่ากลุ่มคนรายได้สูง
โดย “ภาพรวมทั้งหมด” จะพบว่า คนไทยบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มชงที่มีรสหวาน สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 26.3 การดื่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์บรรจุขวด สูงถึงร้อยละ 18.9 และการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป ร้อยละ 16.9
การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย หากบริโภคอย่างไม่พอดี หรือไม่มีการออกกำลังกายร่วมด้วย อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพในอนาคต และการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด นำมาซึ่งการผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาว และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูง
การกินอาหารเพื่อสุขภาพเป็นการเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีความสำคัญต่อความต้องการในแต่ละวัน
โดยทั่วไปควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ปลา ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยควรเลือกกินอาหารที่สด สะอาด และปนเปื้อนน้อยที่สุด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงสรุปหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนี้
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และดูแลน้ำหนักตัว
- กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
- กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ
- กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
- ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
- กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด
- กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
- งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ (สุขสาระ-ขอแก้เป็น “ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่”)
ทั้งนี้ ควรกิน อาหารเพื่อสุขภาพร่วมกับการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง (Active lifestyle) เคลื่อนไหวร่างกายหรือทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายได้ออกกำลังกายและเผาผลาญพลังงานส่วนเกินอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้ได้มากที่สุด
https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=196
https://library.wu.ac.th/km/อาหารเพื่อสุขภาพ-กินอย่/
https://theconversation.com/diet- related-diseases-are-the-no-1-cause-of-death-in-the-us-yet-many-doctors-receive-little-to-no-nutrition-
เดือนกุมภาพันธ์ 2568
มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย (สสม.)
www.muslim4health.or.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น